Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลิ่นเต่า, กลิ่น, เต่า , then กลน, กลนตา, กลิ่น, กลิ่นเต่า, ตา, เต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลิ่นเต่า, 1027 found, display 301-350
  1. ศัลกี : [สันละกี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด BosWellia serrata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ยางมีกลิ่นหอมใช้ทํายาได้. (ส. ศลฺลกี; ป. สลฺลกี).
  2. ศีรษะโค : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  3. ศีรษะเนื้อ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  4. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  5. สมุลแว้ง : [สะหฺมุนละ] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum thailandica Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae เปลือกมีกลิ่นหอมร้อน ใช้ทํายาได้.
  6. สร้อยระย้า ๒ : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง.
  7. สลิด ๑ : [สะหฺลิด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Telosma minor Craib ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียวอมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก.
  8. สะระแหน่ : [แหฺน่] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Mentha cordifolia Opiz ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้.
  9. สันดอน : น. ดินหรือกรวดทรายเป็นต้นซึ่งนํ้าพัดเอามารวมกัน ปรากฏ นูนยาวอยู่ใต้นํ้า ทําให้สูงเป็นสันขึ้น, หลังเต่า ก็เรียก.
  10. สาง ๑ : น. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง; กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์ เช่น เหม็นสาบเหม็นสาง, โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  11. หนวดพราหมณ์ ๑ : [หฺนวดพฺราม] น. (๑) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Seidenfadenia mitrata Garay ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์ ก็เรียก.
  12. หนาด : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera (L.) DC. ในวงศ์ Compositae ใบใหญ่มีขน กลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้ เชื่อกันว่าผีกลัว.
  13. หนามแดง : น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
  14. หมากคัน : ดู เต่าร้าง.
  15. หมากฝรั่ง : น. ของเคี้ยวเล่นอย่างหนึ่ง ทําจากสารคล้ายยางไม้ มักหุ้มด้วย สารหวาน แล้วปรุงให้มีกลิ่นและรสต่าง ๆ เมื่อเคี้ยวจะยืดหยุ่นคล้ายยาง.
  16. หมากหอม : น. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มี กลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.
  17. หมาไม้ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาว ขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บ แหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บน ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.
  18. หอม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.
  19. หอม ๒ : ก. จูบ; ได้รับกลิ่นดี. ว. มีกลิ่นดี, ตรงข้ามกับ เหม็น.
  20. หอมจันทร์ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็กเรียวขนาดกล้วยนํ้าไทย กลิ่นหอม.
  21. หอมหื่น : (วรรณ) ก. หอมยวนใจ เช่น หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนางฯ. (เห่ชมไม้).
  22. หัวเนื้อ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  23. หัวปลี : น. ดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่ ซึ่งอยู่ถัดจากกล้วยตีนเต่า.
  24. หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
  25. หีเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หางเต่า ก็เรียก.
  26. หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
  27. หืน ๑ : ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นนํ้ามันมะพร้าวเป็นต้นที่ทิ้งไว้นาน ๆ.
  28. หูเสือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae ใบกลมแข็งกรอบมีขน กลิ่นฉุน กินได้.
  29. เหม็น ๑ : ก. ได้รับกลิ่นไม่ดี. ว. มีกลิ่นไม่ดี, ตรงข้ามกับ หอม.
  30. เหม็นเขียว : ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด.
  31. เหม็นเปรี้ยว : ว. มีกลิ่นเหม็นคล้ายอาหารบูด.
  32. เหมือด ๒ : [เหฺมือด] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Symplocos วงศ์ Symplocaceae ใบแห้งสีเหลือง ดอกสีขาวออกเป็นช่อ กลิ่นหอม เช่น เหมือดหลวง [S. cochinchinensis (Lour.) S. Moore], เหมือดหอม (S. racemosa Roxb.).
  33. แห้วหมู : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Cyperus rotundus L. ในวงศ์ Cyperaceae หัวมีกลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้, หญ้าแห้วหมู ก็เรียก.
  34. โหระพา : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum basilicum L. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้.
  35. อกเต่า : ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนแฟบอย่างอกของเต่า.
  36. อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
  37. อบอวล : ก. ตลบ, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่น). ว. มีกลิ่นตลบ, มีกลิ่นฟุ้ง.
  38. อวล : [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคํา อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).
  39. ออกซิเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณ ร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วย ให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วย การหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
  40. อาครหายณี : [อาคฺระหายะนี] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวมิคสิระ ก็เรียก. (ส.).
  41. อาหนี : [หฺนี] น. เหล้าชนิดหนึ่งผสมด้วยเมล็ดผลไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมฉุน. (ฝ. anise ว่า เมล็ดผลไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอมฉุน).
  42. อำพันขี้ปลา, อำพันทอง : น. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่า เป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  43. อีแปะ ๓ : น. ผักอีแปะ. [ดู ตับเต่า(๑)].
  44. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  45. อุตพิด : [อุดตะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Typhonium trilobatum Schott ในวงศ์ Araceae ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ. (ข. อาจม์ + พิษ).
  46. อุหรับ : น. ผงกระแจะจันทน์ปนทองสําหรับเจิมในการอภิเษกรดนํ้า เช่น อบอุหรับจับกลิ่นหอมหวน. (อิเหนา). (ม.).
  47. แอมโมเนีย : น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใน อุตสาหกรรมทําปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทําความเย็น. (อ. ammonia).
  48. แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
  49. โอ่ ๓ : ว. กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นอาหารที่ใกล้จะบูด.
  50. โอโซน : น. แก๊สชนิดหนึ่ง สีนํ้าเงิน กลิ่นฉุน เป็นอัญรูปของธาตุออกซิเจน มีสูตร O3 ใช้ประโยชน์ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าเพื่อใช้เป็นนํ้าดื่ม ใช้ฟอก จางสีของสารอินทรีย์บางอย่างเช่นเส้นใยที่ใช้ทอผ้า. (อ. ozone).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1027

(0.1016 sec)