Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลิ่นเต่า, กลิ่น, เต่า , then กลน, กลนตา, กลิ่น, กลิ่นเต่า, ตา, เต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลิ่นเต่า, 1027 found, display 551-600
  1. โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
  2. โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
  3. ขยอก ๑ : [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทําลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอก หุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สําหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
  4. ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
  5. ขลิบ : [ขฺลิบ] ก. เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งามเป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ขยิบ เช่น ขลิบตา ว่า ขยิบตา.
  6. ขวัญตา : น. มิ่งขวัญดวงตา, สิ่งที่เห็นเป็นที่เจริญตา.
  7. ขอสับ : น. โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสําหรับเกี่ยวที่ขอรับ.
  8. ขังหน่วย : ว. เรียกนํ้าตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า นํ้าตาขังหน่วย, น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาล่อหน่วย ก็ว่า.
  9. ขัดตา : ก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือ ขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.
  10. ขาด : ก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มี ไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็ม ตามจํานวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกําหนด เช่น ขาดเรียน ขาดประชุม.
  11. ข้าม ๒, ข้าม ๆ : ว. เลยลําดับ, ไม่เป็นไปตามลําดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.
  12. ข่าย : น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาร่างแห; ขอบเขต เช่น เรื่องนี้ ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา. (พายัพ ว่าห่าย).
  13. ข้าวหนัก : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖.
  14. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  15. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  16. เข ๑ : ว. เหล่น้อย (ใช้แก่ตา).
  17. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  18. เข้าคิว : ก. เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง.
  19. เขิง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง.
  20. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  21. เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
  22. เขือ ๑ : น. ชื่อปลาในสกุล Taenioides และ Brachyamblyopus วงศ์ Gobioididae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตาเล็กมากอยู่ในรู บริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน.
  23. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  24. ไข้เหลือง : น. โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึง แก่ชีวิตภายใน ๖-๗ วัน. (อ. yellow fever).
  25. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  26. คมสัน : ว. มีหน้าตาท่าทางเข้าทีน่าดู.
  27. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  28. คลอหน่วย : ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาคลอหน่วย, น้ำตาล่อหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า.
  29. คลัก ๒ : [คฺลัก] น. ตาที่จะสุก (ใช้แก่การเล่นดวด); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่ที่ไก่หรือ นกเขี่ยเป็นหลุม แล้วนอนในหลุมนั้น, ที่ที่ปลามารวมกันอยู่ในบ่อ หรือหนองที่น้ำงวด.
  30. คล้า : [คฺล้า] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงตามลําต้น ใบกว้าง.
  31. ควายปละ : [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง.
  32. คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
  33. คิว ๒ : น. แถวตามลําดับก่อนหลัง เช่น เข้าคิว คิวรถ. (อ. queue).
  34. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  35. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  36. เคือง : ก. ไม่พอใจและเริ่มรู้สึกโกรธ; ระคาย เช่น เคืองตา, รำคาญ เช่น เคืองหู เคืองใจ.
  37. แค้ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด Bagarius bagarius ในวงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
  38. โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
  39. งุด, งุด ๆ : ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการ ที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.
  40. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  41. จ้อง ๒ : ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอย จนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยา ที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  42. จักขุทวาร : น. ช่องตา.
  43. จักขุนทรีย์ : น. ตาซึ่งทำหน้าที่ดูรูป. (ป. จกฺขุ + อินฺทฺริย).
  44. จักขุประสาท : น. ส่วนสําคัญของตา ทําให้แลเห็น.
  45. จักขุวิญญาณ : น. ความรู้อันอาศัยทางตาเกิดขึ้น.
  46. จักขุสัมผัส : น. อาการที่ตากับรูปและจักขุวิญญาณประจวบกัน.
  47. จักรผาน : [จักผาน] ดู ตาเดียว.
  48. จัด ๒ : ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทําให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลําดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
  49. จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  50. จับตา ๑ : ว. ถูกตา, เหมาะตา, เป็นที่พอตา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1027

(0.0907 sec)