Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระแสเสียง, เสียง, กระแส , then กรส, กระแส, กระแสเสียง, สยง, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระแสเสียง, 1031 found, display 351-400
  1. จุ ๒, จุ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือนเป็นต้น.
  2. จุ๊กกรู๊ : ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า.
  3. จุ๋งจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า.
  4. จุ๊บ ๑ : ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. ก. (ปาก) จูบ, ดูด.
  5. จุปาก : ก. ทำเสียงด้วยปากดังจุ ๆ.
  6. เจี๊ยบ ๒ : น. เรียกลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกเจี๊ยบ. ว. เสียงร้องของลูกเจี๊ยบ.
  7. เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
  8. เจี๊ยวจ๊าว : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมาก เป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อ ให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
  9. เจื้อยแจ้ว : ว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ.
  10. แจ๋ว : ว. มีเสียงดังกังวานแจ่มชัด, ใสมาก เช่น นํ้าใสแจ๋ว; (ปาก) ดีเยี่ยม เช่น ปาฐกถาวันนี้แจ๋ว.
  11. แจ้ว, แจ้ว ๆ : ว. มีเสียงแจ่มใส เช่น ไก่ขันแจ้ว, มีเสียงดังติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น พูดแจ้ว ๆ.
  12. แจะ ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคี้ยวหมากแจะ ๆ.
  13. โจ๊ก ๒ : ว. มีนํ้ามากเกินส่วน (ใช้แก่นํ้าแกง) เช่น น้ำแกงใสโจ๊ก; เสียงดัง อย่างเสียงนํ้าไหล.
  14. โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
  15. ฉะฉาด : (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน.
  16. ฉะฉี่ : (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดน้ำมัน.
  17. ฉับ, ฉับ ๆ : ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดัง เช่นนั้น.
  18. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  19. ฉ่าง : ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้ สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
  20. ฉาด : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรงเป็นต้น.
  21. ฉี่ : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
  22. ฉู่ : ว. โฉ่, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่นเหม็น); เสียงแมลงวันซึ่งตอมสิ่งของอยู่มาก ๆ.
  23. แฉ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรํา ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะ เผาไฟร้อนจุ่มลงในน้า.
  24. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  25. ชมชาญ : ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ. (สมุทรโฆษ).
  26. ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  27. ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  28. ชะฉ่า : ว. เสียงลูกคู่ที่รับเพลงปรบไก่.
  29. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  30. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  31. ช้างร้อง : น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือน เสียงช้างร้อง.
  32. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  33. ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
  34. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  35. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  36. ซด : ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด.
  37. ซอแซ : (โบ; กลอน) ว. เสียงจอแจ, ซ้อแซ้.
  38. ซ้อแซ้ : (กลอน) ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้. (สังข์ทอง).
  39. ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
  40. ซะซร้าว : [–ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
  41. ซะซอเซีย : (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
  42. ซะซิกซะแซ : (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
  43. ซะซิบ : (กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
  44. ซั้ว ๑ : ว. เสียงที่ไล่นกหรือไก่เป็นต้น.
  45. ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
  46. ซี้ด : ว. เสียงอย่างเสียงสูดปากเช่นกินอาหารเผ็ดเป็นต้น.
  47. ซุ่มเสียง : (โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
  48. ซู่ ๒, ซู่ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
  49. ซู้ด : ว. เสียงอย่างคนซดนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ.
  50. ซูด, ซูดซาด : ว. เสียงอย่างเสียงคนกระทําเมื่อเวลากินของเผ็ด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1031

(0.1215 sec)