Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อัตราภาษี, อัตรา, ภาษี , then ภาษ, ภาษี, อัตรา, อัตราภาษี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อัตราภาษี, 105 found, display 51-100
  1. เดินนา : ก. สํารวจนาเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
  2. เดินสวน : ก. สํารวจสวนเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.
  3. ตะลอง : น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน.
  4. ตะล่อม ๒ : น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง.
  5. ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
  6. ตับ ๒ : น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ. ตับเพลง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่ อยู่ในอัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. ตับเรื่อง น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็น เรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตรา ก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
  7. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  8. ทะนานหลวง : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.
  9. ทะแย : น. ชื่อเพลงไทยโบราณทํานองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
  10. แท็กซี่มิเตอร์ : น. แท็กซี่ที่ติดตั้งมิเตอร์คํานวณค่าโดยสารเป็น ระยะทางกับเวลาตามอัตราที่ทางการกําหนด.
  11. นายอากร : ( น. ผู้รับผูกขาดภาษีอากร.
  12. บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
  13. บรรทุกงานไว้มาก, : (ปาก) กินเกินอัตรา เช่น บรรทุกเข้าไปจนท้อง แทบแตก.
  14. บั้นหลวง : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร.
  15. เบ็ดเสร็จ : [เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ; (โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอก ประเทศว่าภาษีเบ็ดเสร็จ.
  16. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  17. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  18. ประชากรศาสตร์ : น. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่ อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวม ทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
  19. เปรียบ : [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
  20. ผู้ประกอบการ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทาง ธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือ ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วหรือไม่.
  21. พรหมไทย : น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และ ยกเว้นภาษีอากร; ของที่บิดามารดาให้.
  22. พร่อง : [พฺร่อง] ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป.
  23. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  24. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  25. พิกัด ๑ : น. กําหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากําหนดที่จะต้อง เสียภาษีอากร).
  26. มานะ ๑ : น. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).
  27. มิลลิกรัม : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า มก. (ฝ. milligramme).
  28. มิลลิเมตร : น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม. (ฝ. millim?tre).
  29. มิลลิลิตร : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า มล. (ฝ. millilitre).
  30. เมตริกตัน : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. (อ. metric ton).
  31. เมืองท่าปลอดภาษี : น. เมืองท่าหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในเขตเมืองท่าที่ การขนถ่ายสินค้าเข้าและสินค้าออกไม่ต้องเสียภาษี.
  32. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  33. ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  34. รถโดยสารประจำทาง : (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่ กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็น ระยะทางหรือตลอดทาง.
  35. รัษฎากร : [รัดสะ–] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียก เก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความ ว่า อากรของประเทศ).
  36. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  37. แรงม้า : น. หน่วยวัดกําลังหรืออัตราของการทํางาน โดยกําหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทํางาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กําลังม้า ก็เรียก.
  38. ลดหย่อน : ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อน ดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
  39. ลิตร : น. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์ เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณี เท่ากับ ๑ ทะนานหลวง. (ฝ. litre).
  40. เลี่ยง : ก. ลักษณะอาการที่เบี่ยงออกไปจากทางหรือแนวเดิม เช่น คำนี้ไม่ สุภาพเลี่ยงไปใช้คำอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการยิงให้ถูกผู้ประท้วงจึง ยิงเลี่ยงไปทางอื่น ขับรถเลี่ยงลงข้างทางเพื่อไม่ให้ชนวัวที่ยืนขวาง ถนน, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เลี่ยงงาน เลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี เลี่ยงบาลี.
  41. วา ๑ : น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง. วาตารางเหลี่ยม (เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
  42. ศาลชั้นต้น : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  43. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  44. สองชั้น : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่า ชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
  45. สัด ๑ : น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
  46. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  47. หนี : ก. ไปเสียให้พ้น, หลีกไปให้พ้น, เช่น หนีภัย หนีทุกข์; หลีกเลี่ยง เช่น หนีภาษี หนีโรงเรียน.
  48. หางข้าว : น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวง เรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
  49. หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
  50. อัตราเร็ว : (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยไม่คํานึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. (อ. speed).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-105

(0.0664 sec)