Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ้นเรื่อง, เรื่อง, สิ้น , then รอง, เรื่อง, สน, สนรอง, สิ้น, สิ้นเรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ้นเรื่อง, 1057 found, display 501-550
  1. มิ ๒ : ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
  2. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  3. มุขบาฐ, มุขปาฐะ : [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
  4. มูล ๒, มูล- : [มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
  5. เมื่อ : น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
  6. เมืองลับแล : น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจ ไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้ ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น.
  7. โมกขบริสุทธิ์ : น. การที่พระจันทร์พ้นจากเงาโลกโดยสิ้นเชิง เมื่อมีจันทรุปราคา.
  8. ไม่เข้ายา : (สํา) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ.
  9. ไม่ได้ความ : ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้การ, เช่น พูดไม่ได้ความ, ไม่ดี, ใช้การไม่ได้, เช่น ของไม่ได้ความ.
  10. ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
  11. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  12. ไม่เป็นโล้เป็นพาย : ก. ไม่ได้เรื่องได้ราว, จับจด, ไม่จริงจัง, เช่น ทำงานไม่เป็นโล้เป็นพาย.
  13. ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ : (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น.
  14. ไม่เล่นด้วย : ก. ไม่ร่วมด้วย, ไม่เอาด้วย, เช่น เรื่องนี้ไม่เล่นด้วย.
  15. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  16. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  17. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  18. ยอม : ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอม ตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  19. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  20. ยักเยื้อง : ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้อง ไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
  21. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  22. ยังเลย : ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่าน หรือยัง ตอบว่า ยังเลย.
  23. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  24. ยืดเยื้อ : ว. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ, เช่น คดียืดเยื้อ.
  25. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  26. ยื่นจมูก : (สํา) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
  27. ยุคันตวาต : [ยุคันตะ] น. ลมในที่สุดยุค หมายความว่า ลมที่มาทําลาย โลกเมื่อสิ้นยุค. (ป.).
  28. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  29. ยุ่งใจ : ก. กังวลวุ่นวายใจ เช่น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้ยุ่งใจได้.
  30. ยุ่งยิ่ง : ก. ยุ่งจุก ๆ จิก ๆ เช่น ยุ่งยิ่งเรื่องปัญหาครอบครัว.
  31. ยุ่งสมอง : ก. ทำให้ความคิดสับสน เช่น อย่าเอาเรื่องนี้มาคิดให้ยุ่งสมอง.
  32. ยุติ ๒ : [ยุดติ] ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.
  33. ยุบล : น. ข้อความ, เรื่องราว.
  34. ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
  35. เย็นใจ : ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้ เย็นใจได้ สำเร็จแน่.
  36. เยื้อ : ก. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้น, มักใช้ว่า ยืดเยื้อ.
  37. แยบยล : น. กล, อุบาย. ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธี แยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.
  38. แย้มพราย : ก. เผยให้เห็นวี่แวว เช่น เขาแย้มพรายเรื่องของเขาให้ทราบ, แย้ม ก็ว่า.
  39. โยน ๑ : ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  40. รน : ก. นิ่งอยู่ไม่ได้, เร่าร้อน, เช่น รนหาที่ตาย รนหาเรื่อง.
  41. รนหาที่ : (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
  42. ร่วงโรย : ก. เสื่อมไป, สิ้นไป, เช่น สังขารร่วงโรย, เซียวไป เช่น อดนอน หน้าตาร่วงโรย.
  43. รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
  44. รอง ๒ : ว. งามสุกใส เช่น รองเรือง.
  45. ร้องเรียน : ก. เสนอเรื่องราว.
  46. รอน ๆ : ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวัน รอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่ รอน ๆ.
  47. ร้อนที่ : (ปาก) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่ติดที่ไม่ได้.
  48. ร้อนหู : ก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.
  49. ร้อนอาสน์ : (สํา) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทําให้อยู่เฉยไม่ได้.
  50. รอบรู้ : ก. รู้หลายอย่าง, รู้กว้างขวาง, เช่น เขารอบรู้ในเรื่องกฎหมาย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1057

(0.0961 sec)