Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ้นเรื่อง, เรื่อง, สิ้น , then รอง, เรื่อง, สน, สนรอง, สิ้น, สิ้นเรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ้นเรื่อง, 1057 found, display 551-600
  1. ร้อยทั้งร้อย : (ปาก) ว. หมดทั้งสิ้น, มีเท่าไรก็หมด.
  2. ร่อยหรอ : ก. ค่อยหมดไป, หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, เช่น เงินทองร่อยหรอ.
  3. ระงับ ๑ : ก. ยับยั้งไว้, ทําให้สงบ, เช่น ระงับคดี ระงับเรื่องราว.
  4. ระบำ : น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความ บันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือ ความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.
  5. ระบำปลายเท้า : น. การเต้นรำแบบหนึ่งของชาวตะวันตก แสดงเป็น เรื่องราวหรือแสดงเดี่ยวก็ได้, บัลเลต์ ก็ว่า. (อ. ballet).
  6. ระมัดระวัง : ก. ดูแลให้ปลอดภัย, ดูแลอย่างรอบคอบไม่ให้พลั้งพลาด, เช่น ระมัดระวัง ให้ดีเวลาข้ามถนน ระมัดระวังเรื่องสายไฟฟ้ารั่วให้มาก. ว. ประหยัด, ไม่สุรุ่ยสุร่าย, เช่นใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง.
  7. ระยำ : ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำ ช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).
  8. ระลึก : ก. คิดถึงหรือนึกถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตได้ เช่น ระลึกถึง ความหลัง, รำลึก ก็ว่า.
  9. ระหองระแหง : ก. บาดหมางกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ปรองดองกัน, เช่น ผัวเมีย ระหองระแหงกันอยู่เสมอ. ว. ผิดใจกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ ใคร่ถูกกัน, เช่น เขามีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อย.
  10. รับผิดชอบ : ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือ ที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไป เถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.
  11. ราบ : ว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; undefined undefined
  12. ราม ๒ : น. ชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์.
  13. รามเกียรติ์ : [รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทําศึก กับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.
  14. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  15. ราวความ : น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความ ให้ละเอียด.
  16. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  17. รุมเร้า : ก. ประดังเข้ามา เช่น มีเรื่องร้าย ๆ เข้ามารุมเร้าอยู่เสมอ.
  18. รู้กัน : ก. รู้เป็นนัยกันเฉพาะในกลุ่มของตน เช่น เรื่องนี้เขารู้กัน.
  19. รู้กันอยู่ในที : ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่น เขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด.
  20. รูดซิป : ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.
  21. รูดม่าน : ก. ดึงม่านหรือม่านบังตาให้เลื่อนไปตามราวเพื่อปิดหรือเปิด; โดยปริยายหมายความว่า สิ้นสุด, จบ, เช่น รูดม่านชีวิต.
  22. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  23. รู้ถึงหู : ก. รู้เพราะมีคนบอก เช่น เรื่องนี้อย่าให้รู้ถึงหูเขานะ.
  24. รู้ทัน : ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสีย เปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิด ของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  25. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  26. รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
  27. รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
  28. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  29. รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
  30. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  31. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  32. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  33. เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
  34. ไร ๆ : ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ; เริ่ม นึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ, รำไร ก็ว่า.
  35. ลงกา : น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  36. ลงตัว : ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ ลงตัวแล้ว.
  37. ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
  38. ลบล้าง : ก. ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น ลบล้างความผิด, ทำให้เป็นโมฆะ ทางกฎหมาย เช่น ลบล้างหนี้สิน ลบล้างมลทิน.
  39. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  40. ล่มจม : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น ค้าขายขาดทุนจนล่มจม, ย่อยยับ, ฉิบหาย, เช่น บ้านเมืองล่มจม.
  41. ล้มโต๊ะ : ก. กินแล้วหาเรื่องไม่จ่ายทรัพย์.
  42. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  43. ลมปราณ : น. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้น ลมปราณ; วิธีกําหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
  44. ล้มละลาย : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว, หมดทรัพย์สมบัติของตัว; (กฎ) มีหนี้สินล้นพ้นตัว และศาลได้มีคําพิพากษาให้ล้มละลาย.
  45. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  46. ล็อก ๒ : น. ความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรื่องนี้เป็นไปตามล็อก.
  47. ล่อนแก่น : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว (ใช้แก่การพนัน) เช่น กินก่อนล่อนแก่น.
  48. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  49. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  50. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1057

(0.1104 sec)