Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ้นเรื่อง, เรื่อง, สิ้น , then รอง, เรื่อง, สน, สนรอง, สิ้น, สิ้นเรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ้นเรื่อง, 1057 found, display 701-750
  1. ส่งภาษา : ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็น ภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขา ส่งภาษาถิ่น'' มาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
  2. สติ : [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).
  3. สน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก จ๋วง; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉําฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina'' equisetifo lia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
  4. สน ๒ : ก. ร้อยด้วยเชือกหรือด้ายเป็นต้น เช่น สนเข็ม สนตะพาย.
  5. สนใจ : ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์ มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.
  6. ส้นตีนส้นมือ, ส้นมือส้นตีน : (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่มีแก่นสาร, เช่น เรื่องส้นมือส้นตีนเท่านี้ ก็ต้องมาฟ้องด้วย, ใช้เป็นคำด่า.
  7. สนาดก : [สะนา] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).
  8. สนุก : [สะหฺนุก] ว. ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน, ทำให้เบิกบานใจ, เช่น หนังสือ เรื่องนี้อ่านสนุก ภาพยนตร์เรื่องนี้สนุก. (ข. สฺรณุก).
  9. สมจร : ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาค สมจรกับงูดิน.
  10. สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
  11. สมองตาย : ว. สภาวะที่สมองถูกทําลายจนสูญเสียการทํางานโดยสิ้นเชิง ถือว่าสิ้นชีวิตแล้ว.
  12. สรตะ : [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกต หรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
  13. สรวลเส, สรวลเสเฮฮา : ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้ สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.
  14. สร้างสถานการณ์ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  15. สรุป, สรูป : [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็น ประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
  16. สลักสำคัญ : ว. สําคัญมาก, สําคัญยิ่ง, เช่น เรื่องนี้สลักสำคัญมาก ไม่เห็นสลักสำคัญ อะไรเลย.
  17. สลาย : [สะหฺลาย] ก. สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น หมอกก็ สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลายพิษงู, ฉลาย ก็ว่า.
  18. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  19. ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
  20. สวะ ๒, สวะ ๆ : [สะหฺวะ] (ปาก) ว. เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ.
  21. สองใจ : ว. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
  22. สอดแทรก : ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไป สอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
  23. สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น : ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
  24. สะกิดใจ : ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจ ว่าเขาจะมาทวงหนี้.
  25. สะกิดสะเกา : ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้ กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
  26. สะเดาะ : ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะ กุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
  27. สะตึ, สะตึ ๆ : (ปาก) ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้ว เสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก.
  28. สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
  29. สะบัดก้น : ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว.
  30. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  31. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  32. สังคมวิทยา : [สังคมมะ, สังคม] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.
  33. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  34. สังยุตนิกาย : [สังยุดตะ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
  35. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  36. สังหร, สังหรณ์ : [หอน] ก. รู้สึกคล้ายมีอะไรมาดลใจ ทําให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น (มักใช้ แก่เหตุร้าย) เช่น สังหรณ์ว่าจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นที่บ้าน. (เทียบ ส. สํหรณ ว่า ยึดไว้).
  37. สัจญาณ : [สัดจะ] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนา ประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจ?าณ).
  38. สัตววิทยา : น. วิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องของสัตว์. (อ. zoology).
  39. สันทัด : ก. ถนัด, จัดเจน, เช่น เรื่องนี้เขาไม่สันทัด เขาสันทัดในด้านคำนวณ. ว. ปานกลาง, ไม่ใหญ่ไม่เล็ก, ไม่สูงไม่ตํ่า, (ใช้แก่รูปร่าง), เช่น รูปร่าง สันทัด.
  40. สันทัดกรณี : [สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
  41. สัพเพเหระ : (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
  42. สัมพัจฉรฉินท์ : น. พิธีสิ้นปี, ตรุษ. (ป.).
  43. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  44. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  45. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  46. สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
  47. หญ้าปากคอก ๑ : (สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.
  48. หดหู่ : ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  49. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  50. หนักกบาล, หนักกบาลหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1057

(0.1025 sec)