Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ้นเรื่อง, เรื่อง, สิ้น , then รอง, เรื่อง, สน, สนรอง, สิ้น, สิ้นเรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ้นเรื่อง, 1057 found, display 951-1000
  1. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  2. ตะครอง : [-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Ziziphus cambodiana Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.
  3. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  4. ตะโพน : น. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วย ฝ่ามือ.
  5. ถัด ๑ : ก. ขยับไปด้วยก้น. ว. รองลงไป, ต่อไป.
  6. ถือหาง : ก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใด ตัวหนึ่งในการต่อรอง).
  7. ทดรอง : ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
  8. ทรรศนะ : [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺศน; ป. ทสฺสน).
  9. ทรุด : [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกําลัง ต้านทานไม่พอ เช่น กําแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกําลัง ทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
  10. ทัณฑ์บน : น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิด ตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คํารับรองที่ทําขึ้นตาม คําสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกําหนด.
  11. ทับทิม ๑ : น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้า จะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รอง แกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วย แป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทําด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทําด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่ง คล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
  12. ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  13. ทู ๑ : (กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคําโคทู. (เสือโค).
  14. แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
  15. นั่ง : ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  16. นางรอง : น. ตัวรองฝ่ายหญิงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  17. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  18. นิทัศน์ : น. ตัวอย่างที่นํามาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).
  19. นิเวศ, นิเวศ, นิเวศน์ : [นิเวด, นิเวดสะ] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
  20. นิสีทน, นิสีทนะ : [นิสีทะนะ] (แบบ) น. การนั่ง; ผ้ารองนั่งของภิกษุ. (ป.).
  21. แนว : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
  22. บันไดแก้ว : น. ที่รองพระคัมภีร์และลานสําหรับจารหนังสือ, ที่สําหรับ พาดพระแสง.
  23. บัวบาท : น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมา หมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
  24. บุ : ก. ตีให้เข้ารูป เช่น บุขัน, เอาของบาง ๆ หุ้มข้างนอก เช่น บุหนัง บุพลาสติก หรือรองข้างใน เช่น บุหลังคา.
  25. เบาะ ๑ : น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง เบาะ สําหรับเด็กนอน.
  26. เบี้ยล่าง : ว. ใต้อํานาจ, เสียเปรียบ, เป็นรอง.
  27. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  28. ใบฎีกา : น. ตําแหน่งพระฐานานุกรมอันดับสุดท้ายรองจากสมุห์ ลงมา.
  29. ปรองดอง : [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.
  30. ประทัด ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Quassia amara L. ในวงศ์ Simaroubaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้ ทํายาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltr. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลําต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอย คล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
  31. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  32. ปลัด : [ปะหฺลัด] น. ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่เหนือตน โดยตรง เช่น ปลัดกระทรวง ปลัดจังหวัด; ตําแหน่งพระฐานานุกรม เหนือสมุห์.
  33. ปุ๋ยคอก : น. ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์และเศษซากพืชรองคอก.
  34. เป็นต่อ : ก. ได้เปรียบ, ถ้าเสียเปรียบใช้ว่า เป็นรอง.
  35. เปรียบ : [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
  36. ผ้ากราบ : น. ผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ ซึ่งกลาย มาจากผ้าสันถัต, (โบ) กราบพระ ก็ว่า.
  37. ผ้าสันถัต : น. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง.
  38. เผื่อ : ว. สํารอง เช่น กักนํ้าไว้เผื่อแล้ง; ให้มากไว้กว่าที่ต้องการสําหรับ ส่วนตัวหรือผู้อื่น เช่นกินเผื่อ เอาข้าวมาเผื่อ. สัน. ถ้า, หาก, สมมุติ, เผื่อว่า ก็ใช้.
  39. แผนก : [ผะแหฺนก] น. ส่วนย่อย; พวก, หมู่; ส่วนราชการที่รองมาจากกอง เช่น แผนกสารบรรณแผนกคลัง.
  40. พนันขันต่อ : น. การพนันซึ่งได้เสียกันโดยวิธีต่อรอง.
  41. พระรอง : น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  42. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  43. พัน ๑ : ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูง กว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น สัญญาบัตรรองจากนายพล.
  44. พาณาสน์ : น. คันธนู. (ส. วาณาสน).
  45. พาสน์ : น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม; การอยู่; การอบ, การทําให้หอม. (ป., ส. วาสน).
  46. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  47. พิภูษณะ : [พูสะนะ] น. วิภูษณะ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
  48. พุงทะลาย : น. ชื่อเรียกผลของต้นสํารอง.
  49. ไพที : น. ที่รอง, แท่น, ขอบชายคา คือ ที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคา ชั้นล่าง; ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. (ป., ส. เวที).
  50. ฟะฟั่น : ว. เฝือ, เฟือน, มากจนเฝือ; มืดมัว; ยุ่งเหยิง;สั่น, สะเทือน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1057

(0.1072 sec)