Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงสั่น, เสียง, สั่น , then สน, สยง, สยงสน, สั่น, เสียง, เสียงสั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงสั่น, 1071 found, display 101-150
  1. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  2. กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
  3. กระเกริก : (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  4. กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
  5. กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  6. กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  7. กระจองอแง : ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรําคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็ก แดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.
  8. กระจิบ ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ร้องเสียงจิบ ๆ มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius) กระจิบคอดํา กระจิบหัวแดง (O. atrogularis) (O. sepium) กินแมลง.
  9. กระจุ๋งกระจิ๋ง : ก. พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า. ก. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
  10. กระฉอก : ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
  11. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  12. กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
  13. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  14. กระโชกกระชั้น : ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.
  15. กระโชกกระชาก : ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง.
  16. กระโชกโฮกฮาก : ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่ง ไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.
  17. กระซิบ : ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
  18. กระซิบกระซาบ : ก. บอกความหรือคุยกันด้วยเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน.
  19. กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
  20. กระดี่ได้น้ำ : (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
  21. กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
  22. กระเดาะปาก : ก. ทําให้เกิดเสียงดังด้วยการใช้ลิ้นดันเพดาน เป็นต้นแล้วสลัดลง.
  23. กระเดือก ๑ : น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
  24. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  25. กระตรุม : (กลอน) น. นกตะกรุม เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  26. กระโตกกระตาก : ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
  27. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  28. กระเทื้อม : ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย).
  29. กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
  30. กระแทกกระทั้น : ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
  31. กระไน : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  32. กระพรวน : [-พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  33. กระพอก ๒ : ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
  34. กระว่า : (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
  35. กระเวยกระวาย : ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง.
  36. กระโวยกระวาย : ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความ ไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.
  37. กระแสง ๑ : น. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา).
  38. กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  39. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  40. กระหึม, กระหึ่ม : ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
  41. กระเหว่า : [-เหฺว่า] น. นกดุเหว่า เช่น กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว. (โลกนิติ), กาเหว่า ก็ว่า. (ดู ดุเหว่า).
  42. กระแหร่ม : [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อ มิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
  43. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  44. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  45. กระอักกระไอ : ว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทําเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ (ไกรทอง).
  46. กระแอม ๑ : ก. ทําเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.
  47. กระไอกระแอม : ก. ทําเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะ เกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  48. กรับ ๑ : [กฺรับ] น. ไม้สําหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น ``กรับ ๆ'' เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.
  49. กรับเสภา : น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้ สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับ เสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.
  50. กราก : [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1071

(0.1191 sec)