Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงสั่น, เสียง, สั่น , then สน, สยง, สยงสน, สั่น, เสียง, เสียงสั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงสั่น, 1071 found, display 251-300
  1. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  2. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  3. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  4. ขิปสัทโท : [ขิปะ-] (ราชา) ก. กระแอม. (จินดามณี). (ป. ขิปิตสทฺท ว่า เสียงจาม).
  5. ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  6. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  7. ขุก ๒, ขุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
  8. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  9. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  10. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  11. เขย้อแขย่ง : [ขะเย่อขะแหฺย่ง] ก. ตะเกียกตะกายจะให้ตัวสูงขึ้น, ออกเสียงว่า ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี.
  12. เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
  13. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  14. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  15. โขลก, โขลก ๆ : [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
  16. ไข้จับสั่น : น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการ หนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. (อ. malarial fever, malaria, paludism).
  17. ไข้สันนิบาต : (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง.
  18. ไข้หวัดใหญ่ : น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจาก เชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและ อ่อนเพลีย. (อ. influenza).
  19. ครรชิต : [คันชิด] (แบบ) ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม, เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
  20. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  21. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  22. ครึ้ม : [คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทําให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.
  23. ครืด ๒ : [คฺรืด] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงลากสิ่งของครูดไป หรือเสียงกรน.
  24. ครืดคราด ๑ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหายใจไม่สะดวก.
  25. ครืน ๒ : [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
  26. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  27. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  28. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  29. คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  30. คลั่ก ๒, คลั่ก ๆ : [คฺลั่ก] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น หม้อข้าวเดือดคลั่ก ๆ.
  31. คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  32. ควาก ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฉีกผ้า.
  33. ความถี่ : (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
  34. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  35. ค้อนทอง : น. ชื่อนกร้องเสียงดังกุ๊ก ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
  36. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  37. ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๑ : ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
  38. คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
  39. คอแห้ง ๑ : ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียงมาก หรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน.
  40. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  41. คัก, คั่ก, คั่ก ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกหนัก; เสียงหัวเราะ.
  42. คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
  43. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  44. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  45. คำราม : ก. ทําเสียงขู่ เช่น เสือคําราม.
  46. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  47. คิก ๆ : ว. เสียงหัวเราะเบา ๆ.
  48. คีรีบูน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Fringillidae มีหลายชนิดและหลายสี ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปยุโรป กินเมล็ดพืช เป็นนกเลี้ยงใส่กรงไว้ฟัง เสียงร้องซึ่งไพเราะ ที่นิยมคือ ชนิดสีเหลือง (Serinus pusillus) และชนิดสีชมพู (Carpodacus erythrinus).
  49. คึ่ก, คึ่ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงลมพัดคึ่ก ๆ.
  50. คุณลุงคุณป้า : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1071

(0.1246 sec)