Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อื่น , then อน, อื่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อื่น, 1084 found, display 351-400
  1. ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
  2. ถ่อ ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตู คือ หน่วยกับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบโปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ ลูกค้าแทง เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน.
  3. ถ้อย : น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  4. ถั่วลันเตา : น. ชื่อถั่วชนิด Pisum sativum L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็ก ดอกสีขาว พันธุ์ฝักใหญ่ ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. (ลัน ย่อมาจาก ฮอลแลนด์ หรือ ฮอลันดา, เตา มาจาก เต้า ในภาษาจีน).
  5. ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  6. ถึงแก่พิราลัย : ก. ตาย (ใช้แก่สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าประเทศราช หรือ ผู้อื่นที่มีฐานันดรเทียบเท่า).
  7. ถึงแก่มรณภาพ : ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิ ศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี.
  8. ถึงมรณภาพ : ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิ ศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
  9. ถือดี : ก. ทะนงตัว, อวดดี, สําคัญว่ามีดีในตน, (มักเป็นไปในเชิงก้าวร้าว คนอื่นเป็นต้น).
  10. ถือปูน : ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
  11. ทราย ๑ : [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย กระดาษทราย.
  12. ทฤษฎีบท : น. ข้อความที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง และใช้ในการอ้างอิง เพื่อพิสูจน์ข้อความอื่นได้. (อ. theorem).
  13. ท่อ ๑ : น. สิ่งสําหรับให้สิ่งอื่นมีนํ้าเป็นต้นผ่านไปได้ มักมีลักษณะกลม รูปคล้ายปล่อง เช่น ท่อนํ้า ท่อลม.
  14. ทองคำขาว : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เป็นเงางาม บุให้เป็นแผ่นหรือรีดให้เป็นเส้นลวดได้ ประกอบ ด้วยทองคําเจือโลหะอื่น เช่น เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียม เพื่อให้ได้สีเงินคล้ายแพลทินัม มักใช้ทําเครื่องรูปพรรณ. (อ. white gold).
  15. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  16. ท้องปลิง : น. ชื่อตะไบชนิดหนึ่ง มีรูปเหมือนท้องปลิง คือข้างหนึ่ง กลม อีกข้างหนึ่งแบน. ว. เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่มีรูปเหมือนท้องปลิง เช่น กําไลท้องปลิง.
  17. ท้องพระคลัง : น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
  18. ทองอังกฤษ : น. เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคํา หรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้น.
  19. ทอยกอง : น. ชื่อการเล่นพนันอย่างหนึ่ง ใช้สตางค์หรือสิ่งอื่นตั้ง ซ้อน ๆ กันแล้วทอยให้ล้ม.
  20. ทอเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐?ซ. เป็น ธาตุกัมมันตรังสีใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้ เป็นโลหะเจือ. (อ. thorium).
  21. ทะนุ, ทะนุก : ก. อุดหนุน (มักใช้ควบกับคําอื่น).
  22. ทังสเตน : น. ธาตุลําดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก. (อ. tungsten).
  23. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  24. ทัณฑ์บน : น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิด ตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คํารับรองที่ทําขึ้นตาม คําสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกําหนด.
  25. ทางด่วน : น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็ว และปลอดภัย มีการควบคุมและกําหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออก เฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
  26. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  27. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  28. ทายาท : ฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททาง การเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้ รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
  29. ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  30. ทำที : ก. แสดงกิริยาหรืออาการให้ผู้อื่นสําคัญผิด.
  31. ทำนาบนหลังคน : (สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
  32. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  33. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  34. ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  35. ที่สุด : น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อน กว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
  36. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  37. ทุ ๒ : (แบบ) ว. สอง, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
  38. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  39. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  40. ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  41. ทูกัง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบ เป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิด อื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรี ใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อย โดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
  42. เทพาดิเทพ : น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น. (ป. เทวาติเทว).
  43. เทลลูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว คล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕?ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. (อ. tellurium).
  44. เทว- ๑ : [เทวะ-] (แบบ) น. เทวดา, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป., ส.).
  45. เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
  46. เทียนพรรษา : น. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สําหรับจุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.
  47. เที่ยว ๒ : ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
  48. แทนทาลัม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๓ สัญลักษณ์ Ta เป็นโลหะสีขาวแกมเทา ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙๙๖?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอด ไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. tantalum).
  49. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  50. แทรกแซง : ก. แทรกเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจการของผู้อื่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1084

(0.0709 sec)