Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อื่น , then อน, อื่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อื่น, 1084 found, display 501-550
  1. ประเวณี : น. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคําว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย). ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  2. ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  3. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  4. ปรัตถจริยา : [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.).
  5. ปรัตยนต์ : [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.). [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  6. ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  7. ปรำ : [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
  8. ปริ- ๑ : [ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
  9. ปริภูมิ : [ปะริพูม] (คณิต) น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้าง แบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).
  10. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  11. ปลงบริขาร : ก. มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย (ใช้แก่บรรพชิต).
  12. ปลอม : [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
  13. ปล่อยของ : ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ให้ของไปทําร้ายผู้อื่น เช่น เสกหนังควายเข้าท้องศัตรู.
  14. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  15. ปลูก : [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้ งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทํา ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
  16. ปลูกเรือนคร่อมตอ : (สํา) ก. กระทําสิ่งซึ่งล่วงลํ้า ก้าวก่าย หรือทับสิทธิ ของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม.
  17. ป่วย : ก. รู้สึกไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทําให้รู้สึก เช่นนั้น.
  18. ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
  19. ปอด ๓ : ว. ลักษณะก้นที่สอบและแฟบ เรียกว่า ก้นปอด, โดยปริยายใช้เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น มะม่วงก้นปอด.
  20. ปะกำ : น. ไม้ที่ทําเป็น ๒ ขาสําหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.
  21. ปักขันดร : [-ดอน] น. ปักษานดร, ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
  22. ปักษานดร : [ปักสานดอน] น. ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
  23. ปัจเจกพุทธะ : [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้ เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
  24. ปัจโจปการกิจ : (แบบ) น. การที่บุคคลทําตอบแทนอุปการะของผู้อื่น. (ป. ปจฺโจปการ + กิจฺจ).
  25. ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
  26. ปัตตานุโมทนา : น. การอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้. (ป.).
  27. ปั่นฝ้าย : ก. เอาฝ้ายเข้าเครื่องหมุน (ไน) เพื่อทําเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็น วัตถุอย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ.
  28. ปากกา ๑, ปากไก่ : น. เครื่องสําหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบ ด้วยตัวปากและด้าม ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
  29. ปากมาก : ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
  30. ปากสว่าง : ว. ชอบเปิดเผยเรื่องของผู้อื่น.
  31. ปากหมา : ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.
  32. ปาณาติบาต : น. การทําลายชีวิตมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ, การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต เช่น ทําปาณาติบาต หากินทางปาณาติบาต. (ป.).
  33. ป้าย ๑ : น. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อ ห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ การค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.
  34. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  35. ป้ายสี : ก. ใส่ความผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง, ให้ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  36. ป่าสงวนแห่งชาติ : (กฎ) น. ป่าที่กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น.
  37. ปี๋ ๒ : ว. มักใช้ประกอบคําอื่น หมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ดําปี๋ เค็มปี๋ แน่นปี๋.
  38. เป๋ง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง ตึงเป๋ง; เสียงดังเช่นนั้น.
  39. เป็นชู้ : ก. ร่วมประเวณีกับเมียผู้อื่น.
  40. เป็นหนี้, เป็นหนี้เป็นสิน : ก. ติดค้างเงินผู้อื่น.
  41. เปรย, เปรย ๆ : [เปฺรย] ก. กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน. ว. อาการที่กล่าว ขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน เช่น เคยพูดเปรยไว้ พูดเปรย ๆ.
  42. เปรียว : [เปฺรียว] ว. ไม่เชื่อง, ว่องไว, (ใช้แก่สัตว์บางชนิดเช่นนกหรือไก่ เป็นต้นที่ไม่คุ้นคน), โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; เพรียว.
  43. เปลาะ, เปลาะ ๆ : [เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือ ขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.
  44. เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
  45. เปลือย : [เปฺลือย] ว. ไม่มีอะไรปกปิดร่างกาย เช่น เปลือยหลัง เปลือยไหล่; โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายเปลือย คือ สายไฟฟ้าที่ไม่มีผ้าหรือยางหุ้ม.
  46. เปะ : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะ ที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอา ลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.
  47. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  48. เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
  49. เปี๊ยก : ว. เล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือสิ่งอื่น.
  50. แป : น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1084

(0.0664 sec)