Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นหมาย, หมาย, มั่น , then มน, มนหมาย, มั่น, มั่นหมาย, หมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นหมาย, 1098 found, display 301-350
  1. เช่าซื้อ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็น จํานวนเท่านั้นเท่านี้คราว.
  2. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  3. โชค : น. สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
  4. ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
  5. ซาว ๑ : ก. เอาข้าวสารล้างนํ้าด้วยวิธีใช้มือคนให้ทั่วเพื่อให้สะอาดก่อนหุงต้ม เรียกว่า ซาวข้าว, โดยปริยายหมายถึงล้างสิ่งอื่นด้วยวิธีเช่นนั้น.
  6. ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
  7. ซึม : ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
  8. ซุน : ก. ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน ก็คือ ใช้เสียจนโงหัวไม่ขึ้น หรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  9. เซิง ๑ : น. ที่รกเป็นสุมทุมพุ่มไม้หรือมีไม้เถาปกคลุมอยู่ข้างบน, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมยุ่งเป็นเซิง, กระเซิง ก็ว่า.
  10. เซียมซี : น. ใบทํานายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับ เลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้. (จ.).
  11. ไซร้ : [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมาย ไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
  12. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  13. ดอกฟ้า : น. หญิงที่ถือว่ามีฐานะสูงศักดิ์กว่าชายที่หมายปอง.
  14. ดัน : ก. ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกําลัง เช่น ดันประตู; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ขืนทํา เช่น กางเกงคับยังดันสวมเข้าไปได้, ทําในสิ่งที่ไม่น่าจะทํา เช่น ดัน ขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.
  15. ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
  16. ดีด ๑ : ก. สลัดออกไปโดยแรง เช่น ดีดนิ้ว, สลัดตัวออกไปโดยเร็ว เช่น กุ้งดีด; ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น เช่น ดีดเรือน; เอานิ้วมือหรือไม้สะกิดให้ดัง เช่น ดีดจะเข้, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอานิ้วกดแล้ว ปล่อยทันที เช่น ดีดพิมพ์ ดีดเปียโน, เอานิ้วหัวแม่มือกดกับนิ้วอื่นให้แน่น แล้วสลัดให้ออกจากกันเป็นเสียงดัง เรียกว่า ดีดนิ้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทําห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า.
  17. ดุ่ย : ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย.
  18. เด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรง เช่น ชี้เด่ ตั้งเด่.
  19. เดน : น. ของเหลือที่ไม่ต้องการแล้ว เช่น คนกินเดน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ เหลือเลือกแล้ว ทิ้งแล้ว ไม่ต้องการแล้วเป็นต้น เช่น ผลไม้เดนเลือก.
  20. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  21. เดินทาง : ก. ไปสู่จุดที่หมายอีกแห่งหนึ่งที่ไกลออกไป.
  22. เดินสาย : ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
  23. เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
  24. แดน : น. ที่ที่กําหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่ เช่น แดนเสือ แดนผู้ร้าย.
  25. โด่ : ว. ใช้ประกอบคํากริยาบางคําเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่น ตําตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.
  26. โดนดี : (ปาก) คําพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.
  27. โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
  28. โดร : [โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยาย หมายถึง ดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลําดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กําสรวล).
  29. ได้ : ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้าย คํากริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สําเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คําช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.
  30. ได้แก่ : สัน. คือ, เท่ากับ, เช่น หนังสือสําหรับค้นความหมายของคําที่เรียง ลําดับตามตัวอักษร ได้แก่พจนานุกรม.
  31. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  32. ตกเขียว : น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อ ข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลง กันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทน เงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดย ปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็น ค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียน จบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้ หนี้คืนให้แก่นายทุน.
  33. ตกคลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนอง ที่นํ้างวด, ตกปลัก ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุดมารวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้วแต่ ทอดแต้มออกไม่ได้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกัน มาก ๆ ไปไหนไม่ได้.
  34. ตรงกันข้าม : ว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดํา ดีกับชั่ว.
  35. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  36. ตระบัดสัตย์ : ก. ไม่รักษาคํามั่นสัญญา.
  37. ตราหน้า : ก. หมายหน้าไว้; หยามหน้า, สบประมาท.
  38. ตรีจีวร : น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).
  39. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  40. ตรีเนตร : น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
  41. ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
  42. ตลอดรอดฝั่ง : ว. ถึงจุดหมายปลายทาง, พ้นอันตราย, ผ่านอุปสรรคมาได้.
  43. ตอด ๑ : ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
  44. ต่อโทรศัพท์ : ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกด เลขหมายบนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
  45. ต้อน : ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
  46. ตอม : ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียน อยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชาย ตอมผู้หญิง.
  47. ตอม่อ : น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี. (รูปภาพ ตอม่อ)
  48. ตอร์ปิโด : น. เครื่องกลจําพวกลูกระเบิดที่ปล่อยให้แล่นไปในนํ้า เพื่อทําลายที่หมายในการศึก, ลักษณนามว่า ลูก. (อ. torpedo).
  49. ตะเข็บ ๔ : น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด.
  50. ตะล่อม ๑ : ก. ทําให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง, ทําให้กลมเข้า. ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อมหรือ รวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1098

(0.1417 sec)