Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นหมาย, หมาย, มั่น , then มน, มนหมาย, มั่น, มั่นหมาย, หมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นหมาย, 1098 found, display 801-850
  1. ศุภเคราะห์ : น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอา ดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณคือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. (ส.).
  2. ศุภมาตรา : น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองตําแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบัน หมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด.
  3. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  4. สกปรก : [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
  5. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  6. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  7. สงคราม : [คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).
  8. สดับปกรณ์ : [สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกา บังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ; ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์).
  9. สตางค์ : [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย เช่น วันนี้ไม่มี สตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัด น้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของทศางค์.
  10. สถาน ๑ : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  11. สนัด : [สะหฺนัด] ก. ถนัด, สันทัด, มั่นเหมาะ. ว. ชัด, แม่นยํา.
  12. สม ๒ : ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
  13. สมณ, สมณะ : [สะมะนะ] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุใน พระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
  14. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  15. สมมติเทพ : น. เทวดาโดยสมมติ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน.
  16. สมาธิ : [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้ จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).
  17. สมาพันธรัฐ : [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง โดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มีอํานาจหน้าที่ เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอมมอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation of states).
  18. สมุทัย : [สะหฺมุไท, สะหฺมุดไท] น. ต้นเหตุ, ที่เกิด, ในคำว่า ทุกขสมุทัย หมายถึง ต้นเหตุหรือที่เกิดแห่งทุกข์. (ป., ส.).
  19. สยามินทร์ : [สะหฺยามิน] น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ ของประเทศไทย.
  20. สรณคมน์, สรณาคมน์ : น. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.).
  21. สรตะ : [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกต หรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
  22. สรรพคุณ : น. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ).
  23. สรรเพชุดา : [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
  24. สรรเพชุดาญาณ : น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของ พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าน; ป. สพฺ??ฺญุต?าณ).
  25. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  26. สลัด ๓ : [สะหฺลัด] ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด ซัด หรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่นสลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก.
  27. สลากกินแบ่ง : น. สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการ เสี่ยงโชค โดยมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือ สลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่กำหนด, ลอตเตอรี่ หวย หรือ หวยเบอร์ ก็เรียก.
  28. สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
  29. สวน ๑ : น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจํานวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะ เช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู.
  30. สหัสธารา : [สะหัดสะ] น. เครื่องโปรยนํ้าให้เป็นฝอย (ใช้ใน การอภิเษก), โดยปริยายหมายถึงการสรงนํ้าของพระเจ้าแผ่นดิน. (ป. สหสฺสธารา; ส. สหสฺรธารา).
  31. สหัสนัยน์, สหัสเนตร : [สะหัดสะ] น. พันตา หมายถึง พระอินทร์. (ป. สหสฺสเนตฺต, สหสฺสนยน; ส. สหสฺรเนตฺร, สหสฺรนยน).
  32. สหัสรังสี : [สะหัดสะ] น. พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. (ป. สหสฺสรํสิ).
  33. สองแง่สองง่าม : ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดา และความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย.
  34. สองแง่สองมุม : ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตาย ใน ๗ วัน.
  35. สองผม : ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม.
  36. สอดส่าย : ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตา หาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึง ส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น.
  37. สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
  38. สอยดอกฟ้า : (สํา) ก. หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็น คู่ครอง.
  39. สะกิดสะเกา : ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้ กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
  40. สะดุ้ง ๑ : ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึก คาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว.
  41. สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
  42. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  43. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  44. สังโยชน์ : น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
  45. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  46. สัญญี : ว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจําได้. (ป.).
  47. สัณฐิติ : น. ความตั้งมั่น. (ป.; ส. สํสฺถิติ).
  48. สัตยพรต : น. การถือคํามั่นสัญญา. (ส. สตฺย + วฺรต).
  49. สัตยาเคราะห์ : น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็น ธรรมในสังคม โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคําสั่ง ที่ไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง. (ส. สตฺยาคฺรห).
  50. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1098

(0.0963 sec)