Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นหมาย, หมาย, มั่น , then มน, มนหมาย, มั่น, มั่นหมาย, หมาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นหมาย, 1098 found, display 901-950
  1. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  2. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  3. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  4. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  5. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  6. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  7. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  8. เหน้า : [เน่า] ว. รุ่น, หนุ่ม, สาว, ใช้เข้าคู่กับคำ หนุ่ม เป็น หนุ่มเหน้า หมายถึง กำลังสาว, กำลังหนุ่ม.
  9. เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
  10. เหนียวหนืด : ว. ข้นเหนียวมาก, โดยปริยายใช้หมายถึงคนตระหนี่ถี่ เหนียวมาก.
  11. เหวย : ว. คำที่ใช้ประกอบข้อความที่มีความหมายในเชิงถามหรือชักชวนเป็นต้น เช่น ใครเล่าเหวยจะไปกับพวกเราบ้าง มาละเหวยมาละวา.
  12. เหอะน่า : (ปาก) เถอะน่า, คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิง ชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.
  13. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  14. แหวกว่าย : ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
  15. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  16. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  17. ไหมหน้า : (กลอน) ก. หมายหน้า, ตราหน้า, เช่น ไหมหน้าว่าเบียนเมือง ข้าคิดเปลื้อง ทานทำแห่งหอคำข้าดอก. (ม. ร่ายยาว).
  18. อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  19. อนุปสัมบัน : [อะนุปะสําบัน] น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณร และคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).
  20. อนุรักษนิยม : [อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทาง การเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทาน การเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
  21. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  22. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  23. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  24. อภินันทนาการ : น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  25. อภิลักขิต, อภิลักขิต : [อะพิลักขิด, อะพิลักขิดตะ] ว. หมายไว้, กําหนดไว้. (ป.).
  26. อภิสมโพธิ, อภิสัมโพธิ : [อะพิสมโพด, สําโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  27. อภิสัมโพธิญาณ : [อะพิสำโพทิยาน] น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
  28. อมนุษย์ : [อะมะ] น. ผู้ที่มิใช่มนุษย์ (หมายรวมทั้ง เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ภูตผีปิศาจ เป็นต้น) แต่โดยมากหมายถึง ภูตผีปิศาจ. (ส.; ป. อมนุสฺส).
  29. อมภูมิ : [พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้ หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
  30. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  31. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  32. อรรถ, อรรถ : [อัด, อัดถะ] น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้ แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).
  33. อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
  34. อวิชชา : [อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.).
  35. อสรพิษ : [อะสอระ] น. สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึง คนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยา เป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).
  36. อเสกขบุคคล, อเสขบุคคล : [อะเสกขะ, อะเสขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้อง ศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.
  37. อเสกข, อเสกขะ : [อะเสกขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์. (ป.).
  38. อเสขบุคคล, อเสกขบุคคล : [อะเสขะ, อะเสกขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้อง ศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.
  39. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  40. ออกไท้ : (โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).
  41. ออกบวช : ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ; ทางศาสนา อิสลาม หมายถึง เลิกถือศีลอด.
  42. อ่อนช้อย : ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  43. อ้อม : ก. โอบรอบ, ตีวงโค้ง, เช่น อ้อมวงเวียน, ล้อม, ห่อหุ้ม, ในคำว่า ผ้าอ้อม. ว. ตรงข้ามกับ ตรง เช่น ทางตรง-ทางอ้อม โดยตรง-โดยอ้อม, ตรงข้าม กับ ลัด เช่น ลัดเกร็ด-อ้อมเกร็ด. น. วงรอบ เช่น อ้อมแขน อ้อมกอด, โดยปริยายหมายถึงความคุ้มครองอุปการะ ในคำว่า อ้อมอก, ขนาดของของกลม เช่น เสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขนทั้ง ๒ ข้างอ้อม เช่น เสา ๒ อ้อม ต้นไม้ ๔ อ้อม.
  44. อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  45. อั้งยี่ : น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).
  46. อัฐยายซื้อขนมยาย : (สํา) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอ แต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้น โดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานอง เดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่น ของผู้นั้น.
  47. อัณฑชะ : น. ''เกิดแต่ไข่'' หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากไข่ เช่น ไก่ นก เต่า. (ป., ส.).
  48. อัตรชะ : [อัดตฺระ] น. ''เกิดจากตัวเอง'' หมายถึง ลูกของตัวเอง. (ป.).
  49. อันตกะ : [อันตะกะ] น. ''ผู้ทําที่สุด'' หมายถึง ความตาย คือ พระยม. (ป., ส.).
  50. อันตกิริยา : น. ''การกระทําซึ่งที่สุด'' หมายถึง ตาย เช่น เขากระทํา ซึ่งอันตกิริยา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1098

(0.0942 sec)