Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 1101-1150
  1. กุย ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. หมัด, กําปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี. (ขุนช้างขุนแผน).
  2. กุ๋ย, กุ๋ย ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
  3. กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
  4. กุลทูสก : [กุละทูสก] น. ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุ ที่ประจบตระกูลต่าง ๆด้วยอาการที่ผิดวินัย. (ป.).
  5. กุลี ๓ : ลักษณนามบอกปริมาณ คือผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน (ใช้แก่ผ้าลาย ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า และโสร่ง เป็นต้น).
  6. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  7. กุศล : [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
  8. กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  9. กู้ ๑ : ก. ทําให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่ เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากน้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.
  10. กูด ๑ : น. ชื่อเฟินหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ ชนิดที่กินได้ เช่น กูดขาว หรือ ผักกูด (Diplazium esculentum Sw.) กูดกิน [Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. yarrabense Domin] กูดแดง (Stenochlaena palustris Bedd.);ทางเหนือและอีสาน เรียกเฟินว่า กูด.
  11. กูบ : น. ประทุนหลังช้าง, ประทุนรถเช่นรถม้าที่มีรูปโค้ง, ลักษณนามว่า หลัง.
  12. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  13. กูรมาวตาร : [-วะตาน] น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์. (ส.).
  14. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  15. เกก : ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
  16. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  17. เก๋ง : น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและ หลังคาแบนสําหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.
  18. เก็จ ๒ : น. ส่วนที่ยื่นออกมาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กําแพง ฐาน หรือเชิงกลอน.
  19. เกจิอาจารย์ : น. ``อาจารย์บางพวก'', อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
  20. เกชา, เกอิชา : น. ผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีศิลปะและวิชาชีพในการปรนนิบัติผู้ชาย. (ญิ.).
  21. เกณฑ์ : น. หลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์, หลักวินิจฉัย เช่น ถือความรู้เป็นเกณฑ์. ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทําถนน.
  22. เกณฑ์หัด : น. ทหารลูกหมู่เลกสมที่ให้หัดตามแบบทหารสมัยใหม่.
  23. เกตุ, เกตุ- : [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู. (ป., ส.).
  24. เกน ๆ : ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ, เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก).
  25. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  26. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  27. เก็บกวาด : ก. เก็บข้าวของให้เข้าที่และกวาดทำความสะอาด.
  28. เก็บเกี่ยว : ก. เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้.
  29. เก็บข้าว : ก. เอาข้าวมาจากลูกหนี้แทนเงินที่ยืมไปใช้ก่อน, ใช้คู่กับคำ ตกข้าว.
  30. เก็บข้าวตก : ก. เก็บรวงข้าวที่เก็บเกี่ยวตกหล่นในท้องนา.
  31. เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
  32. เก็บตก : ก. เก็บของที่ผู้อื่นทําตกไว้.
  33. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  34. เก็บไร : ก. ถอนผมที่ไรออกเพื่อรักษาไรผมให้งาม.
  35. เก็บเล่ม : ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับเลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
  36. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  37. เกย ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด ว่า แม่เกย หรือ มาตราเกย.
  38. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  39. เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
  40. เกร็ง : [เกฺร็ง] ก. ทํากล้ามเนื้อให้แข็ง เช่น เกร็งข้อ เกร็งแขน. ว. อาการที่ กล้ามเนื้อเป็นต้นแข็งอย่างงอไม่ได้ เช่น มือเกร็ง เท้าเกร็ง.
  41. เกร็ด ๑ : [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
  42. เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
  43. เกร่อ : [เกฺร่อ] ว. ลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกินเรื่องใช้เป็นต้นที่ คนโดยมากมักทํากัน เช่นกินกันเกร่อ เที่ยวกันเกร่อ ใช้กันเกร่อ.
  44. เกรอะ : [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะน้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
  45. เกริน : [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
  46. เกริ่น ๑ : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
  47. เกรินบุษบก : น. เกรินที่ต่อออกไปทางด้านข้างฐานบุษบกมาลาทั้ง ๒ ข้าง เพื่อส่งรูปฐานบุษบกให้งอนแอ่นขึ้นคล้ายหัวและหางเรือ.
  48. เกรินราชรถ : น. เกรินที่ส่วนหัวและท้ายราชรถ.
  49. เกรียบ : [เกฺรียบ] น. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเพื่อให้แข็ง เรียกว่า ตะกั่วเกรียบ; เรียกของกินทําด้วยข้าวเป็นแผ่น ๆ มีหลายอย่าง เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบอ่อน.
  50. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.2573 sec)