Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 2101-2150
  1. ค่าล่วงเวลา : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
  2. คาวปลา : ว. เรียกของเหลวที่มีลักษณะคล้ายนํ้าเหลืองที่ขับถ่ายจาก ช่องคลอดภายหลังทารกคลอดแล้ว ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อยว่า นํ้าคาวปลา.
  3. ค่าสัมบูรณ์ : (คณิต) น. ค่าของจํานวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย เช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -๓ หรือ +๓ คือ ๓. (อ. absolute value).
  4. ค่าสินไหมทดแทน : (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการ ผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
  5. ค่าเสมอภาค : น. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลก เปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).
  6. ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
  7. คาหนังคาเขา : (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับ ของกลาง, ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
  8. ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
  9. ค่าหัว : น. ราคาที่กําหนดไว้เป็นค่าเอาชีวิต.
  10. ค่ำ : น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
  11. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  12. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  13. คำขวัญ : น. ถ้อยคําที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.
  14. คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
  15. คำขาด : น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจาก บ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
  16. คำคม : น. ถ้อยคําที่หลักแหลมชวนให้คิด.
  17. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  18. คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
  19. คำตาย : น. คําสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคําในมาตรา กก กด กบ.
  20. คำเติม : น. คําที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคําตั้งใน ภาษาคําติดต่อ.
  21. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  22. คำทาย : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
  23. คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
  24. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  25. คำนับ ๑ : ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่ต้อง นับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  26. คำนับ ๒ : ก. มิดชิด เช่น บมิให้เห็นรูเห็นช่อง ที่ล่องลับคํานับนิแล้ว. (ม. คําหลวง ชูชก).
  27. คำนำ : น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
  28. คำนำหน้าชื่อ : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก.
  29. คำนำหน้านาม : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
  30. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  31. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  32. คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
  33. คำปรารภ : น. คํากล่าวแสดงความดําริที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น.
  34. คำเป็น : น. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรา กง กน กม เกย เกอว.
  35. คำผวน : น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.
  36. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  37. คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  38. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  39. คำพิพากษา : (กฎ) น. คําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่ง คดีที่ฟ้องต่อศาล.
  40. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  41. คำฟ้องแย้ง : (กฎ) น. คําฟ้องที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่อง ที่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
  42. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  43. คำมั่นว่าจะให้รางวัล : (กฎ) น. คํามั่นที่บุคคลออกโฆษณาว่าจะให้รางวัล แก่ผู้ซึ่งกระทําการอันใดสําเร็จดังที่บ่งไว้ในคํามั่น.
  44. คำมูล : น. คําคําเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคําอื่น เช่น ยาม แขก นาฬิกา.
  45. คำรบ : น. ครั้งที่ เช่น เป็นคํารบ ๓.
  46. คำร้อง ๑ : (กฎ) น. (๑) คําขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทําการอย่างใด อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คําขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาล มีคําสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คําร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
  47. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  48. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  49. คำสุภาพ : (ฉันทลักษณ์) น. คําที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.
  50. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | [2101-2150] | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.2593 sec)