Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศัก , then ศก, ศัก, สกฺ, สัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ศัก, 115 found, display 51-100
  1. กาน : ก. ตัดเพื่อให้แตกใหม่ เช่น กานต้นมะขาม, ตัดเพื่อให้ลําต้นเปลา เช่น กานต้นสน; ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้ยืนต้นตาย เช่น กานต้นสัก, ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้มีลูก เช่น กานต้นมะพร้าว.
  2. เกียรติศักดิ์ : [เกียดติสัก] น. เกียรติ, เกียรติตามฐานะของแต่ละบุคคล.
  3. โกสีย์ : น. พระอินทร์ เช่น ล้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า. (ทวาทศมาส). (ป. โกสิย).
  4. ขวน : [ขฺวน] (โบ) ก. ขวนขวาย, ใฝ่, เช่น ขวนทรรป ว่าใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  5. ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  6. ขษีณาศรพ : [ขะสีนาสบ] (โบ; กลอน) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกร ขษีณาศรพทั้งหลาย. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  7. ขอนสัก : น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป.
  8. ขอบ ๒ : ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายใน สองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
  9. ข้อมือขาว : (โบ) น. ข้อมือที่ไม่ได้สักบอกสังกัดทหาร.
  10. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  11. คาส : [คาด] (แบบ) ก. กิน, กัด, เช่น ริ้นร่านห่านยุง ยงงคาสคุงใจ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  12. เคียม : (กลอน) ก. ไหว้, คํานับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสํานักจอมจักรนักไทธรรม. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ถิ่น–อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
  13. แครงเครียว : [แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คําหลวง มหาพน).
  14. แคว : [แคฺว] น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหล ลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก.
  15. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  16. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  17. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  18. แดง ๑ : ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลม ตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. ก. ลักษณะที่ ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา เช่น เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว. (ปาก) น. สตางค์ เช่น ไม่มีสักแดงเดียว. (ตัดมาจาก สตางค์แดง).
  19. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  20. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  21. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  22. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  23. ทองจังโก : (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้ หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
  24. ทัป : น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
  25. ทุเลา : ก. ค่อยยังชั่ว เช่น ไข้ทุเลา; ผ่อนผัน เช่น ขอทุเลาไปอีกสัก ๒-๓ วัน.
  26. เนา ๔ : น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา.
  27. บาศก์ : น. ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์. (ส. ปาศก; ป. ปาสก).
  28. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  29. ปรั่น, ปรั้น : [ปฺรั่น, ปฺรั้น] ว. เสียงแปร้น เช่น ร้องก้องปรั่นประดิรพยทั่วแล. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  30. ปริวัตร : [ปะริวัด] (แบบ) ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตร เป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
  31. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  32. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  33. แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
  34. ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า : (สํา) การทําอะไร ๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมด นั้นเป็นไปไม่ได้. ว. ทําอย่างไร ๆ ก็ไม่ถูกใจสักอย่าง.
  35. พนมศก : น. เลขปีรัชกาลที่เขียนบนหลังศก.
  36. พรรษประเวศ : [พันสะปฺระเวด] น. การเข้าสู่ปีใหม่, เถลิงศก. (ส.).
  37. พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
  38. พระยาวัน : น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  39. พุทธศักราช : [พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพานมา.
  40. มนุษย์มนา : (ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).
  41. มอม ๒ : น. เรียกรูปสัตว์ในนิยายที่มักสักตามร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นรูปสิงห์.
  42. ยืนต้นตาย : ก. อาการที่ต้นไม้บางชนิดเช่นต้นตาล ต้นลาน ตายแล้วแต่ ยังไม่ล้ม, อาการที่ไม้ยืนต้นเช่นต้นสัก ต้นยาง ตายเองหรือถูกกานคือ ควั่นเปลือกและกระพี้โดยรอบออกแล้วตาย แต่ยังไม่ล้ม.
  43. รู้อย่างเป็ด : (สํา) ก. รู้ไม่จริงสักอย่างเดียว.
  44. ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
  45. ลายพร้อย : ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
  46. ลูกปลา : น. กระดาษที่ทําเป็นชิ้นกลม ๆ เล็ก ๆ ปิดตามตัวว่าวเพื่อ ตรึงด้ายสักให้ติดกับกระดาษ.
  47. วันเนา : น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน.
  48. วันแล้ววันเล่า : ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
  49. วิจล : [วิจน] ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา; วุ่นวาย, วุ่นใจ, เช่น ในสุรสถานดำหนักพน อย่ารู้วิจลสักอันเลย. (ม. คำหลวง จุลพน). (ส.).
  50. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-115

(0.0362 sec)