Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เติบใหญ่, ใหญ่, เติบ , then ตบ, ตบหญ, เติบ, เติบใหญ่, หญ, ใหญ่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เติบใหญ่, 1259 found, display 401-450
  1. จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
  2. จอบ ๑ : น. เครื่องมือสําหรับขุด พรวน หรือถากดิน ทําด้วยเหล็กหน้าแบนกว้าง มีด้ามยาว; เรียกฟันหน้าบนที่ใหญ่กว่าปรกติ ว่า ฟันจอบ.
  3. จอม : น. ยอดที่สูงสุดของสิ่งที่มีฐานใหญ่ปลายเรียวเล็กขึ้นไป เช่น จอมเขา; ผู้ที่ยอดเยี่ยมในหมู่ เช่น จอมโจร.
  4. จอมไตร : น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
  5. จอมปลวก : น. รังปลวกขนาดใหญ่ที่สูงเป็นจอมขึ้นไป.
  6. จะกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่าง คล้ายพาย มีด้ามยาว, จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
  7. จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
  8. จังกูด : น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างคล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).
  9. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  10. จัน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.
  11. จั่น ๔ : น. เครื่องประดับคอชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทับทรวงและจี้ ใหญ่กว่าจี้ แต่ย่อมกว่าตาบและทับทรวง.
  12. จั่น ๕ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Millettia brandisiana Kurz ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงหรือม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่วแต่ขนาด เล็กกว่าเวลาออกดอกไม่ใคร่มีใบ เป็นไม้ประดับที่งาม. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อเห็ดชนิด Tricholoma crassum (Berk.) Succ. ในวงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดใหญ่ สีขาวนวล เนื้อหนา ก้านใหญ่ ด้านล่างมีครีบ กินได้, เห็ดตีนแรด หรือ เห็ดตับเต่าขาว ก็เรียก.
  13. จับลิงหัวค่ำ : น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อ เรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
  14. จาด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลําตัวยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของ ริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลําตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ใน แหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, โพ ก็เรียก.
  15. จาม ๑ : น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ปัจจุบันส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตประเทศ เวียดนามตอนใต้.
  16. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  17. จาวมะพร้าว : น. (๑) มันจาวมะพร้าว. (ดู มันเสา ที่ มัน๑). (๒) ชื่อเห็ดชนิด Clavatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง.
  18. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  19. จำปี : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia alba DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว คล้ายดอกจําปาแต่กลีบเล็กและหนากว่า บางพันธุ์สีนวลหรือ สีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น.
  20. จิก ๑ : ก. กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น, กิริยาที่เอาสิ่ง มีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่ เช่น เอาเล็บจิกให้เป็นรอย เอา ปลายเท้าจิกดินให้อยู่; (ปาก) โขกสับเมื่อเป็นต่อ เช่น เมื่อได้ท่าก็จิกเสียใหญ่.
  21. จิ้งโกร่ง : น. เรียกจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus เป็นจิ้งหรีด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง.
  22. จิงจ้อ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Convolvulaceae เช่น จิงจ้อขาว จิงจ้อเหลี่ยม หรือ จี๋จ้อ [Operculina turpethum (L.) S. Manso] ลําต้นเป็นเหลี่ยมหรือมีครีบ ดอกสีขาว จิงจ้อใหญ่ จิงจ้อเหลือง หรือ จิงจ้อขน (Merremia vitifolia Hallier f.) ลําต้นกลม มีขนมาก ดอกสีเหลือง, ทั้ง ๒ ชนิดรากใช้ทํายาได้.
  23. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  24. จุมพล : [จุมพน] (โบ) น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล.
  25. เจว็ด : [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  26. เจษฎา ๑ : [เจดสะดา] น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่. (ป. เชฏ?; เชฺยษฺ?).
  27. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  28. เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
  29. เจ้าพ่อ : น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  30. เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  31. แจ้ : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวเล็กเตี้ย หงอนใหญ่ ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่าไก่ตัวผู้ ชนิดอื่น. ว. ลักษณะของต้นไม้เตี้ย ๆ ที่มีกิ่งทอดแผ่ออกไปโดยรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เรือนทรงแจ้.
  32. ใจเติบ : ว. มีใจกว้างขวางเกินสมควร; มีใจอยากให้มากไว้หรือใหญ่โตไว้.
  33. ใจโต : ว. มีใจกว้างเกินประมาณ, มักใช้เข้าคู่กับ หน้าใหญ่ เป็น หน้าใหญ่ใจโต.
  34. ฉก ๒ : น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutii Griff. วงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้น ทางภาคใต้ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ หรือ รังไก่ ก็เรียก.
  35. ฉนาก : [ฉะหฺนาก] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Pristis วงศ์ Pristidae เป็น ปลากระดูกอ่อน จัดอยู่ในอันดับ Rajiformes มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูก แข็งคล้ายฟันเรียงห่างกันอย่างสม่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด P. cuspidatus มี ๒๓-๓๕ คู่, ชนิด P. microdon มี ๑๗-๒๐ คู่.
  36. ฉลาม : [ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลา กระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยก สูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะ สืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวน้า เช่น ฉลามหนู (Scoliodon sorrakowvah), ฉลามเสือเสือทะเล พิมพา หรือตะเพียนทอง (Galeocerdo cuvieri) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน (Chiloscyllium griseum) บางชนิดอยู่ในน้ำลึกมาก เช่น ฉลามน้ำลึก (Squalus fernandinus) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni.
  37. ฉัททันต์ : (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
  38. ฉาง : น. สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่สําหรับเก็บข้าวหรือเกลือเป็นต้น.
  39. ฉาน ๕ : น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทาง ภาคเหนือของประเทศไทย, ไทยใหญ่ ก็เรียก.
  40. เฉาฮื้อ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สําคัญคือ ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลําตัวสีเงินอาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้า มีถิ่นเดิมอยู่ใน ประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
  41. เฉียงพร้านางแอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Carallia brachiata Merr. ในวงศ์ Rhizophoraceae เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือน, คอแห้ง เขียงพระนางอี่ เขียงพร้า สันพร้านางแอ หรือ สีฟันนางแอ ก็เรียก.
  42. ชนินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร).
  43. ชมพูทวีป : (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ของเขา พระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีปได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรือ อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
  44. ชรโมล : [ชฺระโมน] (กลอน) น. ทโมน, ลิงตัวผู้ขนาดใหญ่, เช่น มีชระมดชรโมลตาม. (สมุทรโฆษ). (ข. โฌฺมล ว่า สัตว์ตัวผู้).
  45. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  46. ช่วง ๓ : ก. มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ใช้ เป็น ช่วงใช้. (ไทยใหญ่ ช่วง ว่า ใช้).
  47. ช้อง : น. ผมสําหรับเสริมผมให้ใหญ่หรือยาว.
  48. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  49. ช้อนหอย ๒ : น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นกินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาว หรือ กุลาขาว (Threskiornis melanocephalus) ช้อนหอยดํา หรือ กุลาดํา (Pseudibis davisoni) ช้อนหอยใหญ่ หรือ กุลาใหญ่ (P. gigantea) และ ช้อนหอยดำเหลือบ(Plegadis falcinellus), กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก.
  50. ช้าง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมี ความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏ ให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1259

(0.0979 sec)