Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนภูมิภาค, ภูมิภาค, ส่วน , then ภมภาค, ภุมิภาค, ภูมิภาค, สวน, ส่วน, สวนภมภาค, ส่วนภูมิภาค .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนภูมิภาค, 1298 found, display 1151-1200
  1. อาคารชุด : (กฎ) น. อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง. (อ. condominium).
  2. อาญา : น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺ?า); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับ คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.
  3. อาณาประโยชน์ : น. ผลประโยชน์ส่วนตัวจากการที่ตนมีอํานาจ ปกครอง.
  4. อาทาน : น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).
  5. อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
  6. อาธาน : [ทาน] น. การตั้งไว้, การวางไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จิตกาธาน. (ส.).
  7. อานนท์ ๑, อานันท์ : น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).
  8. อาบแดด : ก. ให้ผิวกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดถูกแดด เพื่อ สุขภาพหรือความงาม.
  9. อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
  10. อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
  11. อายน : [ยน] น. การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ. (ป., ส.).
  12. อายัน ๒ : น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึงการมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).
  13. อายุรเวท : น. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).
  14. อารัมภ, อารัมภะ, อารัมภ์ : [อารำพะ] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).
  15. อ่าว : น. ส่วนของมหาสมุทร ทะเล หรือทะเลสาบ ที่ลํ้าเข้าไปในฝั่งหรือ ในแผ่นดิน มีลักษณะเว้าโค้งและเปิดกว้าง ทำให้มีแนวของ ชายฝั่งทะเลยาว.
  16. อิงค์ : น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทาง สง่างามดุจราชสีห์. (ป., ส. อิงฺค).
  17. อิติวุตตกะ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  18. อินธน์ : น. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สําหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของ สมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).
  19. อิศร : [อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็น ใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
  20. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  21. อีเต้อ : น. เครื่องมือสําหรับขุดของแข็งหรือหินเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายจอบ ปลายหัวด้านหนึ่งแหลม ส่วนปลายอีก ด้านหนึ่งแบน มีรูตรงกลางสําหรับใส่ด้าม.
  22. อีนูน : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อไม้เถามีหัวชนิด Adenia pierrei Gagnep. และชนิด A. viridiflora Craib ในวงศ์ Passifloraceae ขึ้นปกคลุม ต้นไม้ตามป่าทั่วไป ทุกส่วนเป็นพิษ ยอดอ่อนดองแล้วกินได้, นางนูน หรือ ผักสาบ ก็เรียก.
  23. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  24. อีแอ่น : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae และ Artamidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดํา ปลายปีกแหลม ใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบแมลง มักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) อีแอ่นตะโพกแดง (H. daurica) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล (Cypsiurus balasiensis) ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นํารัง มากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง (Collocalia fuciphaga หรือ Aerodramus fuciphagus)ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก.
  25. อุ้ง : น. ส่วนกลางของฝ่ามือหรือฝ่าเท้า.
  26. อุตมางค์ : [อุดตะมาง] น. ส่วนสูงสุดของร่างกาย คือ หัว. (ส. อุตฺตมางฺค).
  27. อุทาน ๒ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  28. อุทิศ : ก. ให้, ยกให้, เช่น อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี; ทําเพื่อ, สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง).
  29. อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
  30. อุปนัย : [อุปะ, อุบปะ] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหา ส่วนรวม, คู่กับ นิรนัย. (อ. induction).
  31. อุปบล : [อุบบน] (แบบ) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. (ป. อุปฺปล).
  32. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  33. อุปริภาค : น. ส่วนบน, ข้างบน. (ป., ส.).
  34. เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
  35. เอกเทศ : [เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.
  36. เอกอัครสมณทูต : [เอกอักคฺระ] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปา ทรงแต่งตั้งไปประจําสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทน ทางการทูต รวมทั้งทําหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับ เอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).
  37. เอกังสพยากรณ์ : [สะพะยากอน] น. ''การพยากรณ์โดยส่วนเดียว'' หมายถึง การ พยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์ โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและ ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจนสามารถตอบได้อย่าง แจ่มแจ้งทันที.
  38. เอกังสวาที : [สะ] น. ''ผู้กล่าวโดยส่วนเดียว'' หมายถึง ผู้กล่าวยืนยันเด็ดขาด เพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้.
  39. เอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึง ส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.
  40. เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
  41. แอ้ด ๑ : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาว ไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้า เวลาพับปีกจะเห็นเป็นชายห้อยไปคล้ายมีหางคู่ โดยทั่วไปสีดำ ตลอดทั้งตัว เรียกว่า อ้ายแอ้ดชนิดที่พบเป็นสามัญ ได้แก่ ชนิด Acheta confermata, จิ้งหรีดผี ก็เรียก.
  42. สวน ๓ : ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, เซ็น ก็ว่า.
  43. สวนควัน : ว. อาการที่ย้อนตอบทันที เช่น พูดสวนควัน ยิงสวนควัน เตะสวนควัน.
  44. สวนคำ : ว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวน คำไป.
  45. สวนญี่ปุ่น : น. สวนที่จัดตามแบบญี่ปุ่น มีสิ่งประดับที่สำคัญคือ ไม้ดอก ไม้ใบ สะพาน โคม เป็นต้น.
  46. สวนป่า : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
  47. สวนพฤกษศาสตร์ : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้มากชนิดทั้งในและ ต่างประเทศ รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญ และชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและพักผ่อน หย่อนใจเป็นต้น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค จังหวัดสระบุรี. (อ. botanic garden, botanical garden).
  48. สวนรุกขชาติ : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียน ป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. (อ. arboretum).
  49. สวนหย่อม : น. สวนไม้ประดับขนาดเล็ก จัดในเนื้อที่จำกัด.
  50. สวนครัว : น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | [1151-1200] | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1290 sec)