Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตียนโล่ง, เตียน, โล่ง , then ตยนลง, เตียน, เตียนโล่ง, ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตียนโล่ง, 1298 found, display 101-150
  1. ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.
  2. ลงปฏัก, ลงประตัก : ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น เพื่อให้หลาบจำ.
  3. ลงไม้ : ก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้.
  4. ลงรอย, ลงรอยกัน : ก. เข้ากันได้.
  5. ลงเรือลำเดียวกัน : (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำ ด้วยกัน.
  6. ลงเวลา : ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
  7. ลงส้น : ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
  8. ลงสิ่ว : ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วน ที่ต้องการ.
  9. ลงสี : ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ.
  10. ลงเส้น : ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ.
  11. ลงหญ้าช้าง : น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
  12. ลงหลักปักฐาน : (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
  13. ควักลงหลุม : น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ดีดเบี้ยลงหลุม.
  14. แคลงคลาง : [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้ เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  15. จมไม่ลง : (สํา) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคย มั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม).
  16. ไม่ลงโบสถ์กัน : (ปาก) ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้.
  17. ลงอาญา, ลงอาชญา : ก. ลงโทษหรือทําโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน.
  18. ล้มไม่ลง : ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ, โดย ปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.
  19. แล่ง ๑ : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน.
  20. หัวน้ำลง : น. นํ้าที่เริ่มไหลลง.
  21. กินไม่ลง : (ปาก) ก. เอาชนะไม่ได้.
  22. จดไม่ลง : (ปาก) ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก.
  23. ปล่อยปลาลงน้ำ : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  24. ปิดหีบไม่ลง : (ปาก) ว. มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (มักใช้แก่งบประมาณ แผ่นดินที่ไม่สู่ดุล).
  25. มุมกดลง : น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนว ระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก.
  26. ลงมีดลงไม้ : ก. ตีรันฟันแทง.
  27. ลั่ง : ว. อวบ เช่น ทุเรียนพูลั่ง.
  28. แล่ง ๒ : น. รังกระสุน, ที่เก็บลูกกระสุนดินดำหรือลูกศร.
  29. แล่ง ๓ : ก. ผ่า, ทำให้แตก, เช่น แล่งมะพร้าว; รีดเป็นเส้นบาง ๆ เช่น
  30. กระเด้า : ก. ทําก้นขึ้น ๆ ลง ๆ, เด้า ก็ว่า.
  31. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  32. เด้า : ก. กระเด้า, ทําก้นขึ้น ๆ ลง ๆ.
  33. เด้าลม : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) เด้าลมเหลือง (M. flava) เด้าลมดง (Dendronanthus indicus), กระเด้าลม ก็เรียก.
  34. ฝัด : ก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่น กระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออก จากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.
  35. ยงโย่ : ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็น ระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก.
  36. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  37. สะท้อนใจ : ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจ เป็นต้น.
  38. หยุบ ๆ : ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.
  39. undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  40. ก้งโค้ง : ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, โก้งโค้ง ก็ว่า.
  41. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  42. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  43. กดน้ำ : (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  44. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  45. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  46. ก้ม : ก. ทําให้ต่าลงโดยอาการน้อม (ใช้เฉพาะ หัว หน้า และหลัง) เช่น ก้มหัว ก้มหน้า ก้มหลัง.
  47. กมเลศ : [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์ สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ใน สันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
  48. ก้มหลัง : ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
  49. ก้มหัว : ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความ ว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
  50. กมัณฑลุ : [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอก พระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะ ใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1167 sec)