Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตียนโล่ง, เตียน, โล่ง , then ตยนลง, เตียน, เตียนโล่ง, ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตียนโล่ง, 1298 found, display 251-300
  1. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  2. เกลื่อน ๑ : [เกฺลื่อน] ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน. ก. ทําให้ยุบหรือราบลง เช่น เกลื่อนที่ เกลื่อนฝี. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด ว. เกลื่อน.
  3. เกียง : ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล. (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.
  4. แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
  5. แก้ม : น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
  6. โก้งโค้ง : ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, ก้งโค้ง ก็ว่า. น. ที่เทลูกบาศก์สกา รูปคล้ายครก.
  7. โกรก : [โกฺรก] ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกน้ำ, เทให้ไหลลงไป เช่น เอาน้ำโกรกหัว; เลื่อยกระดานไปตามยาว หรือตามแนวที่กําหนด เช่น โกรกไม้; พัดอยู่เรื่อย ๆ เช่น ลมโกรก. น. ซอกลึกของเขา, โตรก ก็ว่า.
  8. โกลง : [โกฺลง] (โบ) ว. โคลง เช่น โกลงกลึงถึงสถานเปรียบแป้น. (ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก).
  9. โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
  10. ข้น : ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส; มีน้อย ลงไป, งวด.
  11. ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
  12. ขนานน้ำ : น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลํามาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดาน เพื่อให้ขึ้นลงสะดวก.
  13. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  14. ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  15. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  16. ขย่ม : [ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีก ซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม๑).
  17. ขยอก ๒ : [ขะหฺยอก] ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย, กระเดือกเข้าไป.
  18. ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  19. ขวบ : น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
  20. ขอม ๒ : ก. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อต้นด้วยคําว่า ขอม เช่น ขอมใหญ่ ขอมเงิน ขอมทรงเครื่อง.
  21. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  22. ขะแมซอ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  23. ขะแมธม : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  24. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  25. ขัด ๑ : ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทําตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคําสั่ง; แย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
  26. ขัดตะหมาด : (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
  27. ขัดแย้ง : ก. ไม่ลงรอยกัน.
  28. ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
  29. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  30. ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
  31. ข้ามเรือ : ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.
  32. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  33. ขิงแกลง, ขิงแครง : [-แกฺลง, -แคฺรง] ดู ขิง.
  34. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  35. ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
  36. ขี้ไต้ ๑ : น. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ย ให้ร่วงหล่นลง.
  37. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  38. ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
  39. ขุน ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสําคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา. ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติ ต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป.
  40. เขก : ก. ใช้ด้านหลังของข้อนิ้วที่งอเข้าด้วยกันเคาะลงไป เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว.
  41. เขมร ๒ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เขมร เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์.
  42. เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
  43. เขลง ๑ : [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
  44. เขลง ๒ : [เขฺลง] ดู หยี.
  45. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  46. เข้าโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, ลงโกศ ก็ว่า.
  47. เข่าอ่อน : ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
  48. เขี้ยวตะขาบ : น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบ สําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากัน คล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
  49. เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
  50. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1053 sec)