Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตียนโล่ง, เตียน, โล่ง , then ตยนลง, เตียน, เตียนโล่ง, ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตียนโล่ง, 1298 found, display 451-500
  1. ชิงช่วง : ก. แย่ง. น. การเล่นชนิดหนึ่ง เอาลูกไม้หรือของ ที่ลอยทิ้งลงในนํ้าแล้วแย่งชิงกัน.
  2. ชี้นิ้ว : ก. ได้แต่สั่งการให้ผู้อื่นทํา ไม่ลงมือทําเอง.
  3. ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  4. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  5. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวาง ไว้ข้างด้านหน้าและในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งลงไว้โดยเฉพาะและจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารนั้น.
  6. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  7. เชิดจีน : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  8. เชื้อ ๒ : ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่ กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้ เนื่องในการอธิษฐาน.
  9. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  10. แชร์ : น. การลงหุ้นเป็นจํานวนเงินและตามวาระที่กําหนด แล้วประมูลว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ย สูงสุดจะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจํานวนผู้เล่น, เรียกการลงหุ้นเช่นนั้นว่า เล่นแชร์. (อ. share).
  11. ใช้เรือ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  12. ซบ : ก. เอาหน้าฟุบแนบลงไป.
  13. ซักแห้ง : ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
  14. ซัดยา : ก. ใส่ยาลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ.
  15. ซับ : ก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่น–อีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ. น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะ แหวน; เรียกกระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.
  16. ซั้ว ๒ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับ เครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
  17. ซา ๒ : ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.
  18. ซูบ : ว. ผอมลง, ซีดไป, เซียวไป.
  19. เซ็น ๒ : ก. ลงลายมือชื่อ. (อ. sign).
  20. เซ่นเหล้า : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  21. เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
  22. เซาะ : ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.
  23. โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
  24. ไซเกิล : (ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่ง กลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่ง กระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้ กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลง จนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จํานวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของ กระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. (อ. cycle).
  25. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  26. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  27. ฐานราก : น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
  28. ด้น : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชในผลไม้ เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียกกลอนชนิดหนึ่ง ที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก) เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
  29. ด้นถอยหลัง : ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทง ข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่งเหมือนฝีจักร.
  30. ด้นปล่อย : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้น ก็เรียก.
  31. ดอกลำเจียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า แร่งลงบนกระทะ ร้อน ๆ ให้ผงแป้งติดกันเป็นแผ่น ใส่ไส้หน้ากระฉีก โบราณพับเป็นรูป สามเหลี่ยม ปัจจุบันพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือม้วนคล้ายทองม้วน.
  32. ดอกสร้อย ๒ : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้ ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ มี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย เช่น แมวเอ๋ย แมวเหมียว... คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.
  33. ดอกหมาก ๒ : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Gerres วงศ์ Gerreidae ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง คล้ายปลาแป้น เว้นแต่มีเกล็ดใหญ่ ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลัง อันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อยู่กันเป็นฝูง. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Barilius วงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว แบนข้าง เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดําหรือนํ้าตาลบนพื้นลําตัว สีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่ตามต้นนํ้าลําธาร.
  34. ดองดึง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Gloriosa superba L. ในวงศ์ Colchicaceae ปลายใบ ม้วนลง กลีบดอกเป็นคลื่น สีแดงและเหลือง หัวมีพิษ. (ข. ฎงฎึง).
  35. ด้อย : ก. ตํ่ากว่าโดยคุณสมบัติ รูปสมบัติ หรือตําแหน่งหน้าที่ เป็นต้น, อาการที่ ท้ายเรือหรือท้ายรถตํ่าลง เรียกว่า ท้ายด้อย, ลักษณะที่ส่วนท้ายของสัตว์มี ช้างเป็นต้นลาดตํ่าลง.
  36. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  37. ดาล ๑ : น. กลอนประตูที่ทําด้วยไม้สําหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสําหรับไขดาล มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่าง คันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสําหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ.
  38. ดาว ๒ : น. ชื่อเสือชนิด Panthera pardus ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่รองลงมาจาก เสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาลแกมเหลือง มีจุดดําทั่วตัว ว่องไวและดุ ขึ้นต้นไม้เก่ง กินเนื้อ, บางตัวขนส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองเป็นสีดําเรียก เสือดํา หรือเสือแมลงภู่ ซึ่งมีรอยจุดดําอยู่ทั่วตัวเหมือนกัน แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อ ถูกแสง.
  39. ด่ำ : ก. ลึกลงไปจนถึงก้นบึ้ง.
  40. ดำ ๑ : ก. มุดลง ในคําว่า ดํานํ้า.
  41. ดำ ๒ : ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  42. ดำนา : ก. ปลูกต้นข้าวลงในนา. (ข. ดํา ว่า ปลูก).
  43. ดึ่ง : ก. ดิ่ง, ตรงลงไป.
  44. เด็ก : น. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส; บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่ ๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่า ในคําว่า เด็กกว่า.
  45. เดาะ ๑ : ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
  46. เดียง ๒ : (โบ) ก. ตีลง, ทุบลง, ฟาดลง.
  47. แดนไตร : น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือ ภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลกและบาดาล.
  48. แดะ : ก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้น ก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น.
  49. โดดร่ม : ก. โดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดิน โดยอาศัยร่มชูชีพ, กระโดดร่ม ก็ว่า; โดยปริยายหมายความว่า หนีงาน หนีโรงเรียน.
  50. ได้ทีขี่แพะไล่ : (สํา) ก. ซํ้าเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพลํ้าลง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.0885 sec)