Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตียนโล่ง, เตียน, โล่ง , then ตยนลง, เตียน, เตียนโล่ง, ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เตียนโล่ง, 1298 found, display 651-700
  1. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  2. นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  3. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  4. น้ำชน : น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมา บรรจบกัน.
  5. น้ำชุบ : น. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคํา สําหรับ ชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอา เหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) นํ้าพริก. น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (สํา) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจ, เป็นคําพูดเชิง เตือนสติ.
  6. น้ำตาย : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์ กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕–๙ คํ่า.
  7. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  8. น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  9. น้ำนอนคลอง : น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะ มีนํ้าหนุนขึ้นมา.
  10. น้ำป่า : น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่าง รวดเร็ว.
  11. น้ำลง : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าตํ่าลง ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะลง ๒ ครั้ง และนํ้าลงครั้งแรกจะมีระดับตํ่ากว่าลง ครั้งที่ ๒.
  12. น้ำอาบงัว : น. นํ้าฝนที่ตกชะดินไหลลงมา มีสีเหลืองเข้ม.
  13. นิติกรรม : (กฎ) น. การใด ๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจ สมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
  14. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  15. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  16. เนือย, เนือย ๆ : ว. เฉื่อย, ช้าลง, อ่อนลง, เช่น ดูเนือยลงไป นํ้าไหลเนือย ๆ; ไม่กระปรี้ กระเปร่า เช่น ทํางานเนือย ๆ, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
  17. โน้ม : ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.
  18. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  19. บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  20. บนบก. : ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมด กําลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
  21. บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
  22. บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
  23. บรรณาธิการ : [บันนาทิกาน] น. ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์; (กฎ) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทํา ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.
  24. บรรทุก : [บัน-] ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้าย ไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้ โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น
  25. บรรเทา : [บัน-] ก. ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
  26. บริโภค : [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  27. บหลิ่ม : [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
  28. บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
  29. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  30. บ้อ, บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน ''เอา มารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือ วงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ''อีตัว'' โยน ลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็น ฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยน อีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า ''อู้ไว้'' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่ โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
  31. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  32. บังใบ ๑ : น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึก ลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบ หรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามา ประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  33. บังใบ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการ แสดงโขนและละคร.
  34. บังอูร : [บังอูน] ก. ตก, ตกลง; ยอบลง. (ข. บงฺอุร ว่า ฝนตก).
  35. บัณเฑาะว์ : [บันเดาะ] น. กลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง ใช้ไกวให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลอง ทั้ง ๒ ข้าง. (ป. ปณว; ส. ปฺรณว).
  36. บัน ๑ : น. จั่ว (หน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร เรียกว่า หน้าบัน). บันแถลง [-ถะแหฺลง] น. หน้าบันขนาดเล็ก ใช้ประดับเป็นกระจัง.
  37. บันได : น. สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง, กระได ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่อาศัยใช้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ฐานะหรือตําแหน่ง ที่สูงขึ้นไป.
  38. บันไดลิง ๑ : น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูงหรือ ไต่ลงที่ตํ่า, กระไดลิง ก็ว่า.
  39. บั่นทอน : ก. ทําให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกําลัง, ทําให้เสียกําลังใจ ในคําว่า บั่นทอนจิตใจ.
  40. บัวตะกั่ว : (โบ) น. ที่สําหรับไขนํ้าให้ไหลลงมาเป็นฝอย.
  41. บัวลอย ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานศพ.
  42. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  43. บางขุนนนท์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  44. บางเบา : ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
  45. บาดาล : น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตรว่า นํ้าบาดาล; นาคพิภพ เป็นที่อยู่ของนาค. (ป. ปาตาล).
  46. บาทสกุณี : [บาดสะกุนี] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  47. บายศรีปากชาม : น. บายศรีตองที่จัดวางลงปากชาม.
  48. บาสเกตบอล : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๕ คน ผู้เล่น แต่ละฝ่ายต้องพยายามโยนลูกบอลลงในห่วงตาข่ายของฝ่าย ตรงข้าม นับคะแนนตามจํานวนครั้งที่โยนลูกลงห่วงได้. (อ. basketball).
  49. บำบัด : ก. ทําให้เสื่อมคลาย เช่น บําบัดทุกข์, ทําให้ทุเลาลง เช่น บําบัดโรค.
  50. บีบขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในนํ้าเดือด, โรยขนมจีน ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1102 sec)