Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวสาลี, สาลี, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวสาลี, สาล, สาลิ, สาลี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวสาลี, 1332 found, display 601-650
  1. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  2. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  3. หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  4. หน้ามอด : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า.
  5. หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
  6. หม้อแกงลิง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบ ขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับ แมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.
  7. หม้อตาล ๒ : น. ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีเป็นรูปทรงหม้อ ตาลขนาดเล็กแล้วหยอดน้ำตาล มีสีต่าง ๆ.
  8. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  9. หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  10. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  11. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  12. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  13. หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  14. หว่าน : ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดย ปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
  15. หอบ ๑ : ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าว หอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่า หอบหนึ่ง.
  16. หักราคา : ก. ตัดราคาให้ตํ่าลง เช่น พ่อค้าหักราคาข้าวเพราะมีความชื้นสูง และคุณภาพต่ำ.
  17. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  18. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  19. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  20. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  21. แหยะ, แหยะ ๆ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
  22. แหลก : [แหฺลก] ว. เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น ข้าวแหลก, ละเอียดเป็นผง เช่น บดยา ให้แหลก, ป่นปี้ เช่น ตีกันแหลก.
  23. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  24. ไหม้ ๑ : ก. ติดเชื้อไฟ, ลุก, เผา, (ใช้แก่ไฟหรือความร้อน). ว. ถูกความร้อนจน เกรียมหรือจนเป็นถ่าน เช่น ข้าวไหม้; เกรียม, ดําคลํ้า, (ใช้แก่ผิว).
  25. อนามัย : น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ. ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษ เจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).
  26. อปรัณณชาติ : [อะปะรันนะชาด] น. ''อาหารอื่น'' คือ ถั่ว งา และผักต่าง ๆ (นอกจากข้าว). (ป. อปรณฺณ).
  27. อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
  28. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  29. อันนะ : น. ของกินโดยเฉพาะข้าว, มักใช้เข้าคู่กับ ปานะ เป็น อันนะปานะ แปลว่า ข้าวและนํ้า. (ป., ส.).
  30. อาลัว : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีตั้งไฟกวนกับกะทิ และน้ำตาลทราย จนสุกหยอดเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผึ่งแดดให้ภายนอกแห้ง แต่ภายใน ยังเยิ้มเหมือนนํ้ามันตานี.
  31. อี๋ ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล.
  32. อุ : น. นํ้าเมาชนิดหนึ่ง ใช้ปลายข้าวและแกลบประสมกับแป้งเชื้อแล้ว หมักไว้.
  33. อู่ : น. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สําหรับเก็บเรือหรือซุง.
  34. เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.
  35. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  36. เอาน้ำลูบท้อง : (สํา) ก. อดทนในยามยากโดยกินน้ำแทนข้าว.
  37. เอาแรง ๑ : ก. ช่วยผู้อื่นทำงานเพื่อต่อไปเขาจะได้มาช่วยตนทำงาน ในลักษณะเดียวกันบ้าง เช่น เกี่ยวข้าวเอาแรงกัน.
  38. โอทน, โอทนะ : [โอทะนะ] น. ข้าวสุก, ข้าวสวย. (ป.).
  39. ขาว ๑ : น. สีชนิดหนึ่งเหมือนสําลี. ว. มีสีอย่างสำลี, โดยปริยายหมายความว่า แจ่มแจ้ง, สะอาดบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน.
  40. ขาวใหญ่ : น. ชื่อส้มโอพันธุ์หนึ่ง ผลคล้ายส้มโอพันธุ์ขาวพวง แต่ขนาดใหญ่กว่า.
  41. ไข่ขาว : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดงเป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วน ที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาว จะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนัก โมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐.
  42. ด่อน ๒ : ว. เผือก, ขาว, ด่างขาว, เช่น ควายด่อน.
  43. ตับเต่าขาว : น. เห็ดตับเต่าขาว. [ดู จั่น๕(๒)].
  44. ท้องขาว ๑ : น. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาว เชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).
  45. ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
  46. พบู ๒ : (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
  47. พิศุทธ์ : ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน, ไม่มีความ เสียหาย, ไม่มีตําหนิ. (ส. วิศุทฺธ; ป. วิสุทฺธ).
  48. ระดูขาว : น. สิ่งที่ถูกขับถ่ายออกมาทางช่องคลอด ลักษณะข้นหรือ ค่อนข้างข้น สีขาวหรือสีเหลืองปนเขียว มีกลิ่นเหม็น เกิดจากสาเหตุ หลายประการ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อพยาธิชนิด Trichomonas vaginalis เนื้องอก, ตกขาวหรือมุตกิด ก็เรียก.
  49. ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว : ดู เสน่ห์จันทร์ขาว.
  50. วิสุทธ์, วิสุทธิ์ : ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน. (ป.; ส. วิศุทฺธ, วิศุทฺธิ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1332

(0.1303 sec)