Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเหนียว, เหนียว, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวเหนียว, หนยว, เหนียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเหนียว, 1404 found, display 1351-1400
  1. หงส์ ๒ : [หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดํา (C. atratus).
  2. หญ้าพันงู : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็ง คล้ายหนาม ใช้ทํายาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (Achyranthes aspera L.) ลําต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [Cyathula prostrata (L.) Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.
  3. หนอง ๒ : [หฺนอง] น. นํ้าเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี, น้ำหนอง ก็ว่า.
  4. หนอนตายหยาก : น. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ชนิด S. collinsae Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก; ชนิด S. tuberosa Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียด หรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้ เป็นยาฆ่าแมลงและทํายาพอกแผลกําจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Clitoria macrophylla Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิด แรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.
  5. หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
  6. หน้ากล้อ : น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
  7. หน้านวล ๑ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้ง ไข่ขาว น้ำตาลทราย ใส่พิมพ์ รูปคล้ายเรือแล้วอบ.
  8. หนามแดง : น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
  9. หน้าวอก : น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป.
  10. หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
  11. หมอตาล : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckii ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปาก ชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือ ขาวนวล พบในเขตที่ลุ่ม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาล อีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก.
  12. หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
  13. หมาไม้ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาว ขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บ แหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บน ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.
  14. หมี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปาก ยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาท การดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขน สีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็ก กว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
  15. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  16. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  17. หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Arctonyx collaris ในวงศ์ Mustelidae ขนบนลําตัวมีแถบขาวพาดจากจมูกไปถึงบนหัว จมูกคล้ายหมู หางสั้น ขนใต้คอขาว เล็บยาวและคมมากใช้ขุดดินเพื่อหาอาหาร กินพืช ผลไม้ และสัตว์เล็ก ๆ.
  18. หยวก ๑ : น. ลําต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวก กล้วยเช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของ กล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมากตัดกิ่งไม้ได้ง่าย เหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.
  19. หยี่ : [หฺยี่] (โบ) น. ผ้าพื้นขาวปักด้วยด้ายเป็นดอกดวงต่าง ๆ.
  20. หลาม ๑ : น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมี เส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ.
  21. หวายตะมอย : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium crumenatum Sw. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีขาว หอม ใช้ทํายาได้. (๒) ดู ตะเข็บ.
  22. หอมแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Eleutherine bulbosa (Miller) Urban ในวงศ์ Iridaceae ใบแบนคล้ายใบหมากแรกเกิด ดอกสีขาวนวล หัวสีแดงเข้ม รสขมเผ็ดซ่า ใช้ทํายาได้.
  23. หัวหงอก : [-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยาย หมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.
  24. หิด : น. ชื่อโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ Sarcoptes scabiei ลักษณะเป็นเม็ดสีขาว ใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้นตามผิวหนัง มีอาการปวดและคัน เรียกว่า หิดด้าน เมื่อเม็ดแตกมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม เรียกว่า หิดเปื่อย.
  25. หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
  26. เหงือกปลาหมอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.
  27. เหมือด ๒ : [เหฺมือด] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Symplocos วงศ์ Symplocaceae ใบแห้งสีเหลือง ดอกสีขาวออกเป็นช่อ กลิ่นหอม เช่น เหมือดหลวง [S. cochinchinensis (Lour.) S. Moore], เหมือดหอม (S. racemosa Roxb.).
  28. เหยียดผิว : ก. ดูถูกคนชาติอื่นที่มีสีผิวต่างกับเชื้อชาติตน (มักใช้แก่พวกผิวขาวเหยียดพวกผิวดํา).
  29. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  30. เหล็ก : น. ธาตุลําดับที่ ๒๖ สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๓๖?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทําเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า. (อ. iron). ว. แข็งแกร่ง เช่น บุรุษเหล็ก.
  31. เหล้าโรง : น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของ เอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก.
  32. เห่า ๒ : น. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดํา นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและ แผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
  33. ไหม ๑ : น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสี ขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถ สาวเป็นเส้นไหมนํามาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม; เรียกเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมว่า ผ้าไหม.
  34. อรชุน : [ออระชุน] น. ไม้รกฟ้า; สีขาว. ว. ขาว; ใส. (ส. อรฺชุน; ป. อชฺชุน).
  35. อรุณ : น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  36. ออก ๒ : น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Haliaeetus leucogaster ในวงศ์ Accipitridae หัวและด้านล่างของลําตัวสีขาว ปีกสีเทา กินปลา และงูทะเล.
  37. ออสเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐?ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. osmium).
  38. อะลูมิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทําเครื่องครัว. (อ. aluminium).
  39. อังกฤษ : [กฺริด] น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชนผิวขาวพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเกาะทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรปซึ่งเรียกว่า เกรตบริเตน; เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคําหรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้นว่า ทองอังกฤษ.
  40. อัมพร : [พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).
  41. อาหรับ : [หฺรับ] น. ชื่อชนชาติผิวขาวพวกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย.
  42. อินเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒?ซ. ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบ ด้วยเงินแล้ว. (อ. indium).
  43. อิริเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๗ สัญลักษณ์ Ir เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน เนื้อแข็งมาก เป็นธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักกัน หลอมละลายที่ ๒๔๕๔?ซ. เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อน ที่สุด ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. iridium).
  44. อีโก้ง : น. ชื่อนกชนิด Porphyrio porphyrio ในวงศ์ Rallidae ลําตัวสีม่วง เหลือบนํ้าเงิน ปากหนาสีแดง ใต้หางสีขาว ขาและนิ้วยาว วิ่งหากิน บนพืชที่ลอยอยู่ในนํ้า กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  45. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  46. อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  47. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  48. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  49. อุโลก : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb. ในวงศ์ Rubiaceae เนื้อไม้สีขาว ใช้ทํายาได้.
  50. เอาะลาย : ดู กระดาดดํา ที่ กระดาด, กระดาดขาว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1404

(0.1277 sec)