Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเหนียว, เหนียว, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวเหนียว, หนยว, เหนียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเหนียว, 1404 found, display 351-400
  1. แขยง ๑ : [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคม เช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากด แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus).
  2. โขลก, โขลก ๆ : [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
  3. ไข่ขวัญ : น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ)ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.
  4. คด ๓ : ก. ตักข้าวสุกออกจากหม้อ.
  5. ครก : [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วยสาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสาก หรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครก กระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิง โดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
  6. ครกกะเบือ : น. ครกดินสําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ สากกะเบือ.
  7. คลั่ก ๒, คลั่ก ๆ : [คฺลั่ก] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น หม้อข้าวเดือดคลั่ก ๆ.
  8. ค่อน ๒ : ว. มากกว่าครึ่ง, เกือบเต็ม, เช่น ข้าวค่อนหม้อ นั่งคอยมาค่อนวัน.
  9. ค่อย ๓ : ว. คํานําหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่ กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
  10. คอรวง : น. ก้านช่อดอกหรือก้านรวงของข้าว.
  11. คันฉาย ๒ : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย ขอฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
  12. คันชีพ ๑ : น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน, ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าวของกินเป็นต้น.
  13. คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
  14. คัพภสาลี : [คับพะ-] น. ข้าวที่กําลังท้องยังไม่แตกเป็นรวง (มักเอามาคั้น เป็นข้าวยาคู). (สิบสองเดือน).
  15. คั่ว ๑ : ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุก หรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว; เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
  16. คา ๒ : ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม. ว. ยังไม่พ้นไป จากที่นั้น ๆ เช่น ยืนคาประตู สุกคาต้น ตายคาที่.
  17. ค่าน้ำนม : น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอ เพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มัน แลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
  18. คาย ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทําให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัวทําให้รู้สึกระคายคัน.
  19. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  20. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  21. เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
  22. เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
  23. เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
  24. เคียว ๑ : น. เครื่องมือเกี่ยวข้าวและหญ้าเป็นต้น ทําด้วยเหล็ก รูปโค้ง มีคม.
  25. งัว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็ม หาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรก และครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
  26. งาตัด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้น สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ.
  27. ง่ำ, ง่ำ ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง.
  28. จวัก : [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
  29. จังหัน ๑ : น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
  30. จันอับ : น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.
  31. จับกิ้ม : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
  32. จับสายสิญจน์ : ก. ควบจับด้ายเส้นเดียวทบให้เป็น ๓ เส้น หรือควบด้าย ๓ เส้นทบให้เป็น ๙ เส้นเพื่อให้เหนียว.
  33. จ่า ๓ : น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า.
  34. จาน ๒ : ก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.
  35. จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
  36. เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  37. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  38. ใจมือ : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
  39. ฉะ ๑ : ก. ฟันลงไป; (ปาก) คําใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว.
  40. ฉาง : น. สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่สําหรับเก็บข้าวหรือเกลือเป็นต้น.
  41. ฉาตกภัย : [ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).
  42. แฉะ : ก. เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ เช่น ถนนแฉะ ตาแฉะ, เปียกหรือชุ่มน้ำเกินไป เช่น ข้าวแฉะ; ไม่รีบร้อน, เฉื่อยชา, เช่น ทํางานแฉะ.
  43. ชะมด ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
  44. ชะลาน : น. ชื่อหนึ่งของฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะมักตกในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
  45. ชักหน้า ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  46. ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  47. เช็ดน้ำ : น. เรียกวิธีหุงข้าวด้วยการรินนํ้าข้าวออกจากหม้อ เพื่อให้แห้งว่า การหุงเช็ดนํ้า.
  48. เช็ดหม้อ : ก. รินนํ้าข้าวออกจากหม้อเพื่อให้แห้งในการ หุงข้าวด้วยวิธีเช็ดนํ้า.
  49. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  50. ซ้อม ๑ : ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว. ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1404

(0.1252 sec)