Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเหนียว, เหนียว, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวเหนียว, หนยว, เหนียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเหนียว, 1404 found, display 451-500
  1. ทองเอก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัด ใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
  2. ทอดมัน : น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาปลาหรือกุ้งผสมกับนํ้าพริกโขลก ให้เข้ากันจนเหนียวแล้วทอดในนํ้ามัน.
  3. ทอดรวง : ก. ออกรวง (ใช้แก่ต้นข้าว).
  4. ทั้ง...ทั้ง : ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าว ทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ ล้วนน่าเที่ยว.
  5. ทัดทา : น. กระดานมีด้ามสําหรับโกยข้าวเปลือก.
  6. ทัพพี : น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทําด้วย ทองเหลืองเป็นต้น, ทรพี ก็ว่า. (ป. ทพฺพิ; ส. ทรฺวี).
  7. ทารพี : [ทาระ-] (กลอน) น. ทัพพี, ทรพี, เช่น จัดแจงข้าวปลาทารพี. (ขุนช้างขุนแผน).
  8. ทึ้ง : ก. พยายามดึงของเหนียวหรือสิ่งที่ติดอยู่แน่นแล้ว ๆ เล่า ๆ เช่น ทึ้งผม แร้งทึ้งศพ.
  9. ทุพภิกขภัย : [ทุบพิกขะไพ] น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการ ขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. (ป.).
  10. เทกระจาด : ก. อาการที่รถบรรทุกหรือรถโดยสารเกิดอุบัติเหตุทํา ให้ผู้โดยสารตายหรือได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของต้องเสียหายไปทั้งคัน.
  11. เทาะห์ : (แบบ; โบ) ก. เผา เช่น ธานยเทาะห์ ชื่อพิธีเผาข้าว. (ป., ส. ทห).
  12. ธัญ ๒, ธัญญ : [ทัน, ทันยะ] น. ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺ?; ส. ธานฺย).
  13. ธัญโกศ : น. ฉางข้าว, ยุ้งข้าว. (ป. ธญฺ? + ส. โกศ).
  14. ธัญชาติ : น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
  15. ธัญญาหาร : น. อาหารคือข้าว. (ป.).
  16. ธัญดัจ : น. เปลือกข้าว, แกลบ. (ป. ธญฺ?ตจ; ส. ธานฺยตฺวจ).
  17. ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
  18. นา ๑ : น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  19. นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
  20. นาเมือง : น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
  21. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  22. นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
  23. น้ำกระสาย : น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  24. น้ำดอกไม้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลาย กับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  25. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  26. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  27. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  28. น้ำพริกเผา : น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  29. น้ำรัก : น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Melanorrhoea และไม้พุ่มในสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทําให้มีสีดําแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อ ปิดทอง.
  30. นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  31. โน้ม : ว. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง.
  32. ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
  33. บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
  34. บอกแขก : ก. บอกเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันทํางาน เช่น บอกแขกเกี่ยวข้าว.
  35. บั้น ๒ : น. ชื่อมาตราตวงข้าว ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
  36. บิณฑ- : [บินทะ-] (แบบ) น. ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).
  37. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  38. บุพพัณชาติ : [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าว ทุกชนิด. (ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
  39. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  40. เบ็ดเสร็จ : [เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ; (โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอก ประเทศว่าภาษีเบ็ดเสร็จ.
  41. เบา : ว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย, ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกําลัง เร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก) น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.
  42. เบือ ๒ : น. ข้าวสารที่ตําประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ, เรียกครกดินที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
  43. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  44. ประท้วง : ก. กระทําการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้าน เพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
  45. ประธาน ๒ : (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.
  46. ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  47. ปราย : [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
  48. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  49. ปลาจ่อม : น. ปลาเล็ก ๆ ที่หมักด้วยเกลือและข้าวคั่วเป็นต้น ใช้เป็น เครื่องจิ้ม.
  50. ปลาเจ่า : น. ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวหมากเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1404

(0.1263 sec)