Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเหนียว, เหนียว, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวเหนียว, หนยว, เหนียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเหนียว, 1404 found, display 601-650
  1. ยาวรี : ว. กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไป อย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก.
  2. ยี่หร่าหวาน : ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน๔.
  3. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  4. ยุ้ง : น. สิ่งปลูกสร้างสําหรับเก็บข้าวเปลือกข้าวโพดเป็นต้นประจําบ้าน.
  5. เยอะ ๑, เยอะแยะ : ว. มากเหลือหลาย, ถมไป, เช่น อาหารมีเยอะ ข้าวของเยอะแยะ.
  6. เยิ้ม : ก. ซึมออกมาแทบหยด เช่น นํ้าเกลือเยิ้ม น้ำเหลืองเยิ้ม, ชุ่มมากแทบหยด เช่น ใส่นํ้ามันจนเยิ้ม, (โดยมากใช้แก่นํ้าหรือของเหลวที่มีลักษณะเหนียว เหนอะหนะ); โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม.
  7. เยีย ๓ : น. ยุ้งข้าว. (ไทยใหญ่).
  8. แยะ : ก. แยก, แบะออก, แตกออก. ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้ เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ.
  9. โยง ๒ : ก. เอาไม้แซะข้าวให้สุกทั่วกัน, ทำให้โหย่ง, คุ้ย, ในคำว่า โยงข้าว.
  10. รวบรวม : ก. นําสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น รวบรวมข้าวของ รวบรวมเงิน รวบรวมหลักฐาน.
  11. ร่อน : ก. อาการของสิ่งมีลักษณะแบนเลื่อนลอยไปหรือมาในอากาศ, ทำให้ สิ่งแบน ๆ เคลื่อนไปในอากาศหรือบนผิวน้ำ เช่น ร่อนรูป ร่อนกระเบื้อง ไปบนผิวน้ำ; กางปีกแผ่ถาไปมาหรือถาลง เช่น นกร่อน เครื่องบินร่อน ลง; แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่ง เป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว, แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ; เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หิน ในคําว่า ร่อนมีด.
  12. ระแง้ : น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าวว่า ระแง้หมาก ระแง้ข้าว, ตะแง้ ก็ว่า.
  13. ระอุ : ว. ร้อนมาก ในความว่า อากาศร้อนระอุ แผ่นดินร้อนระอุ; สุกทั่ว เช่น ข้าวระอุ.
  14. รักเช็ด : น. น้ำรักที่เคี่ยวให้งวดและเหนียว ใช้ทาสำหรับปิดทองคำเปลว.
  15. รับซื้อ : ก. ตกลงซื้อ เช่น รัฐบาลรับซื้อข้าวจากชาวนา.
  16. ราด : ก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่น ราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด.
  17. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  18. รุข้าว : ก. เอาฟางออกจากเมล็ดข้าวที่นวดแล้ว.
  19. รู้จักเก็บรู้จักงำ : (สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ.
  20. เรไร ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้า เส้นเล็ก ๆ คล้ายซ่าหริ่ม จับให้ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ คล้ายรังนก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย งา หยอดด้วยกะทิ.
  21. เรียงเม็ด : (ปาก) ก. ย่อย เช่น ข้าวยังไม่ทันเรียงเม็ดเลย ไปวิ่งเล่นแล้ว.
  22. เรียบร้อย : ว. สุภาพ เช่น พูดจาเรียบร้อย กิริยามารยาทเรียบร้อย; เป็น ระเบียบ เช่น จัดห้องเรียบร้อย, มีระเบียบ เช่น ทำงานเรียบร้อย, ประณีต เช่น เย็บผ้า ''เรียบร้อยเสร็จ; เช่น กินข้าวมาเรียบร้อยแล้ว; สงบราบคาบ เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเรียบร้อย.
  23. เรี่ยราย : ก. กระจายเกลื่อนไป เช่น กินข้าวหกเรี่ยรายไปทั่ว หมาคุ้ยขยะ ตกเรี่ยราย.
  24. เรื้อ : ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้ว งอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียก พืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทํานองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. เรื้อรัง ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง.
  25. เรือมอ : น. เรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุก ข้าวเปลือกและเกลือ.
  26. ไร่ : น. ที่ปลูกพืชและต้นไม้บนไหล่เขาหรือในที่ดอน, พื้นที่ราบที่ใช้ปลูกพืช อื่น ๆ นอกจากข้าว เช่น ไร่ฝ้าย ไร่องุ่น ไร่แตงโม; จํานวนเนื้อที่ ๔ งาน หรือ ๔๐๐ ตารางวา หรือ ๑,๖๐๐ ตารางเมตร.
  27. ลงแขก : ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตาม ความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
  28. ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
  29. ลม ๓ : น. ชื่อเห็ดชนิด Lentinus polychrous L?v. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ผุ ดอกเห็ดรูปปากแตร ด้านบนมีเกล็ดสีนํ้าตาลอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลแดง เนื้อเหนียว กินได้.
  30. ลอดช่อง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลง ในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
  31. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  32. ล้อมวง : ก. ป้องกันระวังโดยกวดขัน; นั่งหรือยืนเป็นวง เช่น ล้อมวง กินข้าว ล้อมวงจับระบำชาวไร่.
  33. ละลมละลาย : ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป.
  34. ละเอียดลออ : ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
  35. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  36. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  37. ลาน ๑ : น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว; ในทางกีฬาหมายถึง สนามที่เล่นกีฬา, คู่กับ ลู่.
  38. ลายไพรยักคิ้ว : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะ ใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สาน โดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอา ตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไป ไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.
  39. ลาวก : น. คนเกี่ยวข้าว. (ป., ส.).
  40. ลำพวน : น. เศษฟางและข้าวลีบ.
  41. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  42. ลืมกลืน : น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่าง หน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
  43. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  44. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  45. เล็บมือนาง ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาว ราว ๒ องคุลี หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
  46. เลเพลาดพาด : ว. กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดอย่างยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นที่เป็นทาง, เลอะเทอะ, เช่น นอนเล เพลาดพาด ทิ้งข้าวของไว้เลเพลาดพาด.
  47. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  48. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  49. เลอะเทอะ : ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหก เลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยาย หมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจา เลอะเทอะ, โบราณใช้ว่าเลอะเพอะ ก็มี.
  50. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1404

(0.1415 sec)