Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวเหนียว, เหนียว, ข้าว , then ขาว, ข้าว, ข้าวเหนียว, หนยว, เหนียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวเหนียว, 1404 found, display 651-700
  1. เลี้ยงผอก : ก. นำข้าวไปให้ชาวนากินในเวลาทำนา.
  2. เลี้ยงไม่รู้จักโต : ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้อง ขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบ ออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.
  3. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  4. แลก : ก. เอาสิ่งหนึ่งให้ไปเพื่อได้สิ่งหนึ่งที่ต้องการมา เช่น แลกเชลย แลกกล้วยไม้ นักกีฬาแลกธงกัน, ซื้อของด้วยของ เช่น เอาน้ำมัน แลกข้าว.
  5. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  6. วปนะ : [วะปะ] (แบบ) น. การหว่าน (ใช้แก่ข้าว), การเพาะปลูก. (ป., ส.).
  7. วัชพืช : [วัดชะพืด] น. พืชที่ไม่ต้องการ เช่นหญ้าคาในแปลงข้าว. (ป. วชฺช + พีช).
  8. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  9. ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
  10. ว่านพระฉิม : ดู ข้าวข้า.
  11. วิกฤตกาล, วิกฤติกาล : น. เวลาอันวิกฤติ เช่น ในวิกฤติกาลข้าวของ มีราคาแพงและหาซื้อยาก.
  12. ศัสยะ : [สัดสะยะ] น. ข้าวกล้า. (ส.; ป. สสฺส).
  13. สก ๓ : (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง เรียกว่า สก.
  14. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  15. ส้มกุ้ง ๑ : น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
  16. สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
  17. ส้มฟัก : น. อาหารทําด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. ส้มมะขาม
  18. สวย : ว. งามน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาม เป็น สวยงาม, ในบทกลอน ใช้ว่า ส้วย ก็มี; ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ.
  19. สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ : ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ.
  20. สะไอ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีสะไอจวนจะบูด แล้ว, กระไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็น สะไอ, กระไอ ก็ว่า.
  21. สังกะตัง : ว. ลักษณะที่ติดแน่นเป็นปมเหนียวที่ผมหรือขนสัตว์สางไม่ออก เช่น ผมเป็นสังกะตัง.
  22. สังฆภัต : น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติ ทายกนําอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทําอปโลกนกรรมแบ่งกัน. (ป.).
  23. สัด ๑ : น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
  24. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  25. สัสสะ : [สัดสะ] น. ข้าวกล้า. (ป.; ส. ศสฺย).
  26. สากกะเบือ : น. สากไม้สําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ ครกกะเบือ.
  27. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  28. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  29. หนับ : ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
  30. หน้ามอด : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า.
  31. หนึบ : ว. ลักษณะของสิ่งของที่เหนียวและมีเนื้อแน่นด้วย เรียกว่า เหนียวหนึบ.
  32. หนืด : ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืด ใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).
  33. หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
  34. หม้อแกงลิง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบ ขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับ แมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.
  35. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  36. หม้ำ, หม้ำตับ : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก.
  37. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  38. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  39. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  40. หยิกเล็บ : ก. ใช้เล็บหัวแม่มือกดลงบนดินเหนียวหรือขี้ผึ้งเป็นต้นเพื่อทำ เครื่องหมายไว้.
  41. หลุมเสือก : น. หลุมที่ตรงปากใช้โคลนหรือดินเหนียวทำให้ลื่นเพื่อให้ปลา เสือกตัวลงไป.
  42. หว่าน : ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดย ปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
  43. หวาย : น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.). (๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่น หวายตะมอย.
  44. หอบ ๑ : ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าว หอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่า หอบหนึ่ง.
  45. หักราคา : ก. ตัดราคาให้ตํ่าลง เช่น พ่อค้าหักราคาข้าวเพราะมีความชื้นสูง และคุณภาพต่ำ.
  46. หัวโขน ๒ : น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวโพดคั่วคลุกนํ้าตาลที่เคี่ยว จนเหนียวว่า ข้าวโพดหัวโขน.
  47. หินดินดาน : น. หินชั้นซึ่งประกอบด้วยอะลูมิเนียมซิลิเกตกับแมกนีเซียม ซิลิเกต มีเนื้อละเอียดมาก บี้กับนํ้าแล้วเหนียวติดมือ.
  48. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  49. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  50. เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1404

(0.1224 sec)