Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลักษณะเด่น, ลักษณะ, เด่น , then ดน, เด่น, ลกษณ, ลกษณดน, ลักษณะ, ลักษณะเด่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลักษณะเด่น, 1405 found, display 551-600
  1. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  2. ทิ่ม : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
  3. ทิว ๒ : น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, เทียว ก็ว่า.
  4. ทิวทัศน์ : [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  5. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  6. ที่สุด : น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อน กว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
  7. ทีเอ็นที : น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุ ระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
  8. ทุ่นระเบิด : น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอย ประจําอยู่ใต้นํ้าเพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทาง ทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณา บริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการ เคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่น ระเบิด, เรียกลักษณะการทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
  9. ทุบ : ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไป บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือ เพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากําปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
  10. ทุรลักษณ์ : ว. มีลักษณะไม่ดี; มีเครื่องหมายชั่ว. (ส.).
  11. ทู่ : ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไป เพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
  12. ทูเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๕๔๕?ซ. (อ. thulium).
  13. เทพา : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius sanitwongsei ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีครีบหลัง ครีบอก และ ครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่เหนือครีบอกหลัง กระพุ้งแก้ม พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อ โตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
  14. เทโพ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius larnaudii ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดําเด่นอยู่เหนือต้นครีบอก และพื้นลําตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขต ภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขงขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร.
  15. เทลลูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว คล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕?ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. (อ. tellurium).
  16. เทศนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนา ของพระ.
  17. เทอร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๕ สัญลักษณ์ Tb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๓๕๖?ซ. (อ. terbium).
  18. เทอะทะ : ว. ไม่ได้รูปได้ทรง (มักใช้แก่ลักษณะที่อ้วนหรือหนา) เช่น อ้วนเทอะทะ หนาเทอะทะ.
  19. เทียว ๓ : น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, ทิว ก็ว่า.
  20. แท่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่ตันและกลมยาวหรือแบนหนา เช่น แท่งทอง แท่งเหล็ก แท่งหิน, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ชอล์กแท่งหนึ่ง ดินสอ ๒ แท่ง; เรียกชายที่หนุ่มแน่นยังไม่มีภรรยาว่า หนุ่มทั้งแท่ง.
  21. แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
  22. แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
  23. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  24. แทรกเตอร์ : [แทฺรก-] น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และแบบล้อ ซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า. (อ. tractor).
  25. แทลเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๘๑ สัญลักษณ์ Tl เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. thallium).
  26. โทงเทง ๒ : ว. อาการที่เคลื่อนไปมีลักษณะโย่งเย่งส่ายไปมา เช่น เดินโทงเทง.
  27. โทรพิมพ์ : น. ระบบโทรคมนาคมที่ใช้เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลข ประกอบด้วยแป้นพิมพ์และแคร่พิมพ์ ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด สามารถรับส่งสัญญาณโทรเลขเพื่อพิมพ์เป็นตัวอักษรบนกระดาษพิมพ์ และส่งตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสัญญาณโทรเลขผ่านวงจรโทรเลขที่ต่ออยู่ กับเครื่องโทรพิมพ์นั้นได้. (อ. teletype).
  28. ไทเทเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๒ สัญลักษณ์ Ti เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๖๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้ เป็นโลหะเจือ. (อ. titanium).
  29. ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
  30. ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
  31. ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
  32. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  33. ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
  34. ธงทิว, ธงเทียว : น. ธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก.
  35. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  36. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  37. ธงมหาราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด การยิงสลุตถวายคํานับ.
  38. ธงมหาราชใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  39. ธงเยาวราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  40. ธงเยาวราชใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาว ครึ่งหนึ่งของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  41. ธงราชินีน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสี อย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทน ธงราชินีใหญ่ หมายความว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุต ถวายคํานับ.
  42. ธงราชินีใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
  43. ธรณีสาร ๑ : น. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน อยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร.
  44. ธรรมวัตร : น. ลักษณะเทศน์ทํานองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทํานองแบบเทศน์มหาชาติ.
  45. ธัญ ๑ : [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย).
  46. นงลักษณ์ : น. นางผู้มีลักษณะดี, นางผู้มีขวัญดี.
  47. นพเก้า : [นบพะ] น. ชื่อแหวนฝังพลอย ๙ อย่าง ทําเป็นยอดก็มี ฝัง รอบวงแหวนก็มี สําหรับสวมในการมงคล; ชื่อแกงชนิดหนึ่งมี ลักษณะคล้ายแกงส้ม ปรุงด้วยผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ประสมปลาร้า, แกงซั้ว ก็เรียก.
  48. นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.
  49. นมข้น : น. นมที่มีลักษณะข้นและมีรสหวานจัด ได้จากการทําให้นํ้า บางส่วนในนํ้านมวัวระเหยไปแล้วเติมนํ้าตาล.
  50. นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1405

(0.1098 sec)