Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลักษณะเด่น, ลักษณะ, เด่น , then ดน, เด่น, ลกษณ, ลกษณดน, ลักษณะ, ลักษณะเด่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลักษณะเด่น, 1405 found, display 601-650
  1. นมผง : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนํานํ้านมวัวไปผ่านกรรมวิธี ซึ่งทําให้ส่วนที่เป็นนํ้าระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้.
  2. นวม ๑ : น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
  3. นอต ๒ : น. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ, ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลาง และมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. (อ. nut).
  4. นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
  5. น้อย ๑ : ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมาย ถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อยผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึก เป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.
  6. นั่งเทียน : น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตร เป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ ปรากฏในนํ้านั้น.
  7. นา ๑ : น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  8. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  9. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  10. น้ำแข็งไส : น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย.
  11. น้ำแข็งแห้ง : น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะคล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น; น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
  12. น้ำชน : น. ลักษณะที่กระแสนํ้าขึ้นกับนํ้าลงหรือนํ้าจืดกับนํ้าเค็มมา บรรจบกัน.
  13. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  14. น้ำตะไคร้ : น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใสสีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาล แกมแดง สกัดจากต้นและใบตะไคร้.
  15. น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  16. น้ำผึ้ง ๑ : น. นํ้าหวานมีลักษณะข้นที่แมลงผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ ต่าง ๆ.
  17. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  18. น้ำพุ : น. นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น มีอุณหภูมิตํ่ากว่าอุณหภูมิของ ร่างกายมนุษย์, ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งมีตั้งแต่อุ่น ๆ จนถึงเดือดพล่าน เรียกว่า นํ้าพุร้อน, นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น. น้ำมนต์, น้ำมนตร์
  19. น้ำมัน : น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดย ปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
  20. น้ำมันเครื่อง : น. นํ้ามันประเภทหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างข้น ใช้สําหรับ หล่อลื่นเพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวโลหะ, ใช้ผสมกับนํ้ามัน เบนซินเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องยนต์เบนซินชนิด ๒ จังหวะ ก็ได้, นํ้ามันหล่อลื่น ก็เรียก.
  21. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  22. น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
  23. น้ำวน : (ภูมิ) น. กระแสนํ้าไหลวนเป็นวงในทะเลหรือแม่นํ้า เกิดจาก รูปร่างลักษณะของร่องนํ้าหรือเนื่องจากกระแสนํ้า ๒ สายไหลมา ปะทะกัน.
  24. น้ำหนวก : น. นํ้าที่อยู่ในช่องหูซึ่งมีอาการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น อาจมี ลักษณะใส เป็นมูกข้นหรือเป็นหนอง.
  25. นิกเกิล : น. ธาตุลําดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ อื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. (อ. nickel).
  26. นิกรอยด์ : [กฺรอย] น. ชนชาติผิวดํา มีลักษณะผิวดํา ผมหยิก ปากหนา. (อ. Negroid).
  27. นิโคติน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗?ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
  28. นิรคุณ : [ระ] ว. ไม่มีลักษณะดี, ไม่มีคุณ, เลว, ชั่วร้าย; เนรคุณ, ไม่รู้คุณ. (ส.).
  29. นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  30. นิเสธ : ว. ไม่มีลักษณะเชิงนิยต, ปฏิเสธ, ทางลบ. (อ. negative).
  31. นีโอดิเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔?ซ. (อ. neodymium).
  32. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  33. เนบิวลา : น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. (อ. nebula).
  34. เนปทูเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. (อ. neptunium).
  35. เนมิตกนาม : น. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต แปลว่า ผู้ดําเนินดีแล้ว.
  36. เนมิตก, เนมิตกะ : [เนมิดตะกะ] (แบบ) น. หมอดูทายลักษณะหรือโชคลาง. (ป. เนมิตฺตก).
  37. เนิน : น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับเดิม เช่น เนินดิน เนินเขา; เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือว่า เนิน เช่น เนิน พระศุกร์ เนินพระพุธ.
  38. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  39. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  40. เนื้อเยื่อ : น. กลุ่มของเซลล์ที่มักมีลักษณะเหมือนกัน ทําหน้าที่ร่วมกัน. (อ. tissue). เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ น. เนื้อเยื่อส่วนที่ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวได้. (อ. muscular tissue).
  41. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  42. แนว : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
  43. โนมพรรณ : [โนมพัน] น. รูปลักษณะ เช่น เฉิดโฉมโนมพรรณ.
  44. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  45. ไนโอเบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็น สนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. (อ. niobium).
  46. บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  47. บรรเจิด : [บัน-] ก. เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  48. บ่วง : น. เชือกที่ทําเป็นวงสําหรับคล้อง รูดเข้าออกได้, โดยปริยายหมาย ถึง สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่วงมาร.
  49. บอกยี่ห้อ : (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคําพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัย ใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
  50. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1405

(0.1137 sec)