Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงแข็ง, เสียง, แข็ง , then ขง, แข็ง, สยง, เสียง, เสียงแข็ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงแข็ง, 1458 found, display 101-150
  1. เกรียว : [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว, ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
  2. ขี้เหล็ก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Cassia siamea Lam. ในวงศ์ Leguminosae มักขึ้นตามริมนํ้าหรือป่าชื้น ดอกเหลืองดกเป็นช่อใหญ่ เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่หรือบางทีเกือบดํา มีลายเป็นเส้นสีแก่หรือสีอ่อนกว่าพื้น แข็ง เหนียว และหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใบอ่อน และดอกกินได้.
  3. แข่น, แข้น : ก. ข้นจวนแห้งจวนแข็ง เช่น เลือดแข้น. ว. แข็ง เช่น อาหารแข้น.
  4. คา ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Imperata cylindrica Beauv. ในวงศ์ Gramineae ใบคาย แข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เหง้าใช้ทํายาได้.
  5. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  6. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  7. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  8. เดือย ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachryma-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลําต้นและ ใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือ นํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทําเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้ม แข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทําเครื่องประดับ.
  9. ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
  10. โทร- : [โทระ-] ว. คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล. โทรคมนาคม [-คะมะ-, -คมมะ-] น. การส่ง การกระจาย หรือการ รับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทําให้เข้าใจ ด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบสายวิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็ก ไฟฟ้าอื่น ๆ. (อ. telecommunication).
  11. นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
  12. เบญจกามคุณ : น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
  13. เป๊ก ๓ : ว. ใช้ประกอบคํา แข็ง ว่า แข็งเป๊ก หมายความว่า แข็งมาก.
  14. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  15. แผด ๑ : ก. เปล่งเสียงดังสนั่น (ตามปรกติใช้ประกอบกับคำ เสียง เป็น แผดเสียง); ฉายแสงกล้า (ใช้แก่แดด).
  16. โผฏฐัพ–, โผฏฐัพพะ : [โผดถับพะ–] น. สิ่งที่มาถูกต้องกาย คือ สิ่งที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด. (ป.).
  17. พยัญชนะ : [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  18. ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
  19. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  20. มะค่า : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzelia xylocarpa Craib ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาล อมแดง ใช้ในการก่อสร้าง, มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.
  21. ไม้จัตวา : น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.
  22. โยคะ : น. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดย การทำจิตให้เป็นสมาธิ.
  23. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  24. โลกามิส : น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
  25. ศัพท, ศัพท์ : [สับทะ, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยาก ที่ต้องแปล, ศัพท์แสงก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คํา).
  26. ศัพท์สำเนียง : น. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟัง ไม่ได้ศัพท์
  27. สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
  28. สระ ๕ : [สะระ] น. เสียง. (ป.; ส. สฺวร).
  29. สวระ : น. เสียง. (ส.).
  30. หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
  31. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  32. อักษรกลาง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็น เสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียง จัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  33. อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
  34. อักษรสูง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงเอก ผันด้วย วรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คําตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
  35. อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
  36. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  37. โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียงเสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
  38. วิรวะ, วิราวะ : เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
  39. แว้ : เสียงลูกร้องแว้, อุแว้ ก็ว่า.
  40. กบบัว : น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  41. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  42. กรน : [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอ หอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
  43. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  44. กรรแสง ๑ : [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
  45. กรวบ, กร๊วบ : [กฺรวบ, กฺร๊วบ] ว. เสียงดังเช่นเคี้ยวถูกของแข็ง.
  46. กร้วม : ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็ง กระทบกันอย่างแรง.
  47. กรอกแกรก ๑ : [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
  48. กรอด ๒ : [กฺรอด] ว. เซียวลง เช่น ผอมกรอด; เสียงดังอย่างเสียงกัดฟัน.
  49. กรอบเกรียบ : (โบ) ว. มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้ง หรือกรอบ, เกรียบกรอบ ก็ว่า.
  50. กรอบแกรบ : ว. เต็มที เช่น แห้งกรอบแกรบ จนกรอบแกรบ; มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1458

(0.1280 sec)