Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงแข็ง, เสียง, แข็ง , then ขง, แข็ง, สยง, เสียง, เสียงแข็ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงแข็ง, 1458 found, display 1301-1350
  1. หัวร่อ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.
  2. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  3. หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
  4. หา ๒ : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
  5. หางกังหัน : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียง สระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  6. หางกิ่ว : น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า.
  7. ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
  8. หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
  9. หิน ๒ : (ปาก) ว. ยากมาก เช่น ข้อสอบหิน, เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้หิน, เหี้ยม มาก, แข็งมาก, เช่น เขาเป็นคนใจหิน.
  10. หินดาน : น. หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด มีแร่เช่นดีบุก ทองคำ รวมอยู่ด้วย.
  11. หินตับเป็ด : น. หินชนิดหนึ่ง สีดํา เนื้อแข็ง.
  12. หินทราย : น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือ เหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
  13. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  14. หินหนืด : น. หินที่อยู่ในสภาพของหนืด อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก เมื่อเปลือกโลกเกิดรอยร้าวจะอูดตัวแทรกซอนขึ้นมาสู่ผิวโลก และจะ แข็งตัวเป็นหินอัคนีพวกต่าง ๆ.
  15. หินอัคนี : [-อักคะนี] น. หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด.
  16. หีบเพลง : น. เครื่องอัดลมทําด้วยไม้หุ้มกระดาษมีรู มีลิ้นใช้นิ้วปิดเปิดให้ เป็นเสียงเพลง.
  17. หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
  18. หีบเพลงปาก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบน ยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่ง ดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).
  19. หึ, หึ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  20. หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
  21. หุยฮา : ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).
  22. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  23. หูด ๑ : น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง.
  24. หูดับ : ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.
  25. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  26. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  27. หูฝาด, หูเฝื่อน : ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
  28. หูแว่ว : ก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง.
  29. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  30. หูเสือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae ใบกลมแข็งกรอบมีขน กลิ่นฉุน กินได้.
  31. หูหนวก : น. หูที่ขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง, โดยปริยายหมายความ ว่า ฟังอะไรไม่ได้ยิน.
  32. หูอื้อ : ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.
  33. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  34. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  35. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  36. เหน่อ : [เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสําเนียงมาตรฐาน.
  37. เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
  38. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  39. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  40. เหม่ง ๒ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้น.
  41. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  42. เหมียว ๑ : น. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.
  43. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  44. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  45. เหรอ, เหรอะ : (ปาก) คำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า หรือ.
  46. เหลว : [เหฺลว] ว. เป็นนํ้า, ไม่แข็ง; ไม่ได้เรื่อง.
  47. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  48. เหะหะ : ว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
  49. เห่า ๑ : ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
  50. เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1458

(0.1335 sec)