Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงแข็ง, เสียง, แข็ง , then ขง, แข็ง, สยง, เสียง, เสียงแข็ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงแข็ง, 1458 found, display 351-400
  1. แก่กล้า : ก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า.
  2. แกน : น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ เต็มแกน.
  3. แก่น : น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
  4. แกรก : [แกฺรก] ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากการ ย่องหรือเล็ดลอด.
  5. แกร่ง : [แกฺร่ง] ว. แข็ง, แข็งกร้าว.
  6. แกรนิต : [แกฺร-] น. หินอัคนีชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหินเขี้ยวหนุมาน หินฟันม้า และแร่กลีบหินเป็นส่วนใหญ่ มีหลายสี ขัดให้เป็นเงาได้ กรดไม่กัด แข็งและทนทานมาก. (อ. granite).
  7. แกแล ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งชนิด Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner ในวงศ์ Moraceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นเหลืองใช้ย้อมผ้าและทํายา, กะแล หรือ เข ก็เรียก.
  8. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  9. แก้ว ๕ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสด เป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทําด้ามมีด และไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. (ดู ส้ม๑). (๔) (ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).
  10. แก้วแกลบ : [-แกฺลบ] น. ตะกรันเกิดจากเถ้าแกลบที่แข็ง มีสีขาว; ชื่อแร่หินชนิดหนึ่ง.
  11. แก้วมรกต : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น และในปาก มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทําให้หน้าเขียว บางทีก็เหลือง หรือดํา ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกํา เท้างอ. (แพทย์).
  12. แก้วหู : น. เยื่อในหูสําหรับรับเสียง.
  13. โกก ๑ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือคอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
  14. โกโก้ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Theobroma cacao L. ในวงศ์ Sterculiaceae ดอกเล็ก สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู ออกตามกิ่งและลําต้น ผลคล้ายมะละกอขนาดเล็ก ผิวแข็งขรุขระ สีน้ำตาล เมล็ดแก่คั่วแล้ว บดเป็นผง ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มและทําขนมได้.
  15. โกญจนะ : [โกนจะนะ] (กลอน) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
  16. โกญจนาท : น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
  17. โกรง : [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง. (สุบิน).
  18. โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
  19. โกรศ : [โกฺรด] น. เสียงร้อง; มาตราวัด เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู. (ส.).
  20. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  21. ไก่ฟ้า : น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Phasianidae ตัวโตขนาดไก่บ้าน ขาและปากแข็งแรงมาก ตัวผู้มีหางยาว สีสันสวยงามกว่าตัวเมีย บินเก่งแต่ในระยะทางสั้น ๆ ทํารังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ผลไม้สุก และแมลง มีหลายชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว (Lophura nycthemera) พญาลอ หรือ ไก่ฟ้าพญาลอ (L. diardi).
  22. ไกรศร, ไกรสร : [ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอน กาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).
  23. ขนุนนก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Palaquiumobovatum Engl. ในวงศ์ Sapotaceae มีนํ้ายางขาวจับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยางอื่น ๆ ใช้ยาเรือได้.
  24. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  25. ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
  26. ขมัง ๒ : [ขะหฺมัง] (โบ) ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่งให้กัน เสมอ. (กําสรวล).
  27. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  28. ขยัน ๑ : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
  29. ขยี่ขยัน : [ขะหฺยี่ขะหฺยัน] ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  30. ขรม : [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
  31. ขลุก ๒, ขลุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขุก หรือ ขุก ๆ ก็ว่า, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอย่างเร็ว ในคำว่า กลิ้งขลุก ๆ.
  32. ขลุกขลัก : ว. ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ, ติดขัด, ไม่สะดวก, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห.
  33. ขวับ ๑, ขวับเขวียว : [ขฺวับ, ขฺวับเขฺวียว] ว. เสียงหวดไม้เรียว.
  34. ของเหลว : น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะ หนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
  35. ขัน ๒ : ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
  36. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  37. ขาก ๑ : ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  38. ขาไก่ ๑ : น. เรียกขนมปังกรอบค่อนข้างแข็ง ขนาดโตเท่านิ้วหัวแม่มือ ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ว่า ขนมปังขาไก่.
  39. ขาไก่ ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes dolicophylla R. Ben. ในวงศ์ Acanthaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปลูกเป็นรั้ว. (๒) ชื่อเห็ด ชนิดหนึ่งในพวกเห็ดโคน แต่ใหญ่และแข็งกว่า. (๓) เรียกอ้อย ชนิดลําเล็กสีเหลืองว่าอ้อยขาไก่.
  40. ขาไก่ ๓ : ดู หางแข็ง.
  41. ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
  42. ขายชื่อ : ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย.
  43. ขายตัว : ก. เอาตัวแลกเงิน, เอาชื่อเสียงแลกเงิน.
  44. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  45. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  46. ข้าวเม่า ๒ : น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาด เล็ก ลําตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กาง ทําให้ทิ่มตําเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis ในวงศ์ Ephippidae Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย.
  47. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  48. ขิปสัทโท : [ขิปะ-] (ราชา) ก. กระแอม. (จินดามณี). (ป. ขิปิตสทฺท ว่า เสียงจาม).
  49. ขี้แต้ : น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมา จากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.
  50. ขี้ยอก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลัง ออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขต แม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1458

(0.1379 sec)