Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงแข็ง, เสียง, แข็ง , then ขง, แข็ง, สยง, เสียง, เสียงแข็ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงแข็ง, 1458 found, display 701-750
  1. ทัณฑฆาต : [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการ ออกเสียง มีรูปดังนี้ ?.
  2. ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  3. ทับศัพท์ : ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธี ถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
  4. ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี : [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ, ทฺฤฒี).
  5. ทาก ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัว ขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือด ไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Haemadipsa interrupta ในวงศ์ Hirudidae.
  6. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  7. ทาบทาม : ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถาม เพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  8. ทำซ้ำ : (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำ งานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  9. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  10. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  11. ทำลาย : ก. อาการที่ทําให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย, ทําให้พัง เช่น ทําลายกําแพง, ทําให้ฉิบหาย เช่น ทําลายวงศ์ตระกูล, ทําให้หมดสิ้นไป เช่น ทําลายชื่อเสียง ทําลายหลักฐาน. (แผลงมาจากทลาย).
  12. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  13. ทีฆสระ : น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทย ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
  14. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  15. ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
  16. ทุเรียน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กําปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
  17. เทคอนกรีต : ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และกรวดหรือหินผสมกับนํ้า แล้วเทให้เป็นพื้นแข็งหรือทําถนนเป็นต้น.
  18. เทิงบอง, เทิ้งบอง : น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
  19. โทโทษ : น. คําที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน ในบทนิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.
  20. โทรทัศน์ : น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพ ตามเดิมว่า เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
  21. โทรศัพท์ : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็น เครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนํา โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียน ย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
  22. ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
  23. ธีร, ธีระ : [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
  24. นกหวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังหวีด.
  25. นมนาง ๓ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pouteria cambodiana Baehni ในวงศ์ Sapotaceae ลําต้นมีหนามแข็ง.
  26. นฤดม : ว. เลิศชายหรือแข็งแรงที่สุด. (ส.).
  27. นาก ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลําตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมี แผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ดหางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศ ไทย มี ๔ ชนิด ที่มีจํานวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea).
  28. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  29. นางแอ่น. : (ดู อี). น. คําเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
  30. นาท : น. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  31. นามบัตร : [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์ บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทํางานไว้เพื่อแนะนําตัวเป็นต้น.
  32. นาสวน : น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมันว่า ข้าวนาสวน.
  33. น้ำแข็ง : น. นํ้าที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อน.
  34. น้ำแข็งแห้ง : น. คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง เย็นจัด ลักษณะคล้ายนํ้าแข็ง ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําความเย็น; น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ใส่แก้วเป็นต้น ไม่ใส่น้ำ.
  35. น้ำค้างแข็ง : น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่อ อุณหภูมิผิวหน้าของพื้นดินตํ่ากว่า ๐?ซ.
  36. น้ำดอกไม้ ๓ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลําตัว ค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลําตัวมีสีแตกต่าง กันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteri หรือนํ้าตาล อมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลําตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiae บ้างก็มีจุดหรือแต้มดํา เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐–๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
  37. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  38. นิคหิต : [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  39. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  40. นิรโฆษ : [ระโคด] (แบบ) น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ, สงบ, สงัด. (ส.).
  41. นิ่ว ๑ : น. เกลือเคมีหรือสารเคมีอื่น เช่นคอเลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งในไต กระเพาะปัสสาวะ ถุงนํ้าดี หรือท่อของต่อมบางชนิดในร่างกาย เช่นต่อม นํ้าลาย ตับอ่อน.
  42. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  43. เนย : น. ไขมันหรือนํ้ามันที่ทําจากนํ้านมสัตว์มีทั้งเหลวและแข็ง.
  44. เน้อ : ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
  45. เนียง ๑ : น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง).
  46. เนียรนาท : [เนียระนาด] ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้.
  47. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  48. แน่นหนา : ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่าง แน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
  49. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  50. บ๊งเบ๊ง : (ปาก) ว. ทําเสียงเอะอะ, ทําเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1458

(0.1164 sec)