Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์, เครื่อง, ไมโคร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์, 1476 found, display 801-850
  1. บุหงา : [-หฺงา] น. ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทําเป็น รูปร่างต่าง ๆ. (ตัดมาจาก บุหงารําไป).
  2. บุหงารำไป : น. ดอกไม้ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้า โปร่งเล็ก ๆ ทําเป็นรูปร่างต่าง ๆ, มักเรียกย่อว่า บุหงา. (ช.).
  3. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  4. บูชายัญ : น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วย วิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคน หรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.
  5. บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
  6. เบญจกามคุณ : น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
  7. เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
  8. เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
  9. เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
  10. เบญพาด : [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. (รูปภาพ เบญพาด)
  11. เบ็ด : น. เครื่องมือสําหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสําหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.
  12. เบรก : [เบฺรก] น. เครื่องห้ามล้อ. ก. ห้ามล้อ. (อ. brake).
  13. เบาะ ๑ : น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง เบาะ สําหรับเด็กนอน.
  14. เบือ ๒ : น. ข้าวสารที่ตําประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ, เรียกครกดินที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
  15. แบนโจ : น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสาย ๕ สาย ใช้มือดีด. (อ. banjo).
  16. แบรก : [บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
  17. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  18. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  19. ใบขับขี่ : (ปาก) น. ใบอนุญาตให้ขับเคลื่อนยานยนต์ได้, ถ้าเป็นใบ อนุญาตให้ขับเรือ เรียกว่า ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ, ถ้าเป็น ใบอนุญาตให้ขับเครื่องบิน เรียกว่า ใบอนุญาตนักบิน.
  20. ใบปรือ : น. ชื่อไม้หรือปูนรูปเป็นครีบ ๆ คล้ายใบระกาติดที่ตะเข้ เครื่องบนโบสถ์วิหารเป็นต้น.
  21. ใบพัด : น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้ หมุนได้ สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือ เป็นต้น ให้ เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
  22. ใบอนุญาตขับขี่ : (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ ใบอนุญาตสําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาต ผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
  23. ปกกระพอง : น. เครื่องปกส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง.
  24. ปฏิกรณ์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องที่ใช้สําหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทาง นิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สาร กัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู. (อ. reactor).
  25. ปฐม, ปฐม- : [ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
  26. ปทัฏฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน ก็ว่า. (ป.; ส. ปทสฺถาน).
  27. ปทัสถาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; บรรทัดฐาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. ปทฏฺ?าน).
  28. ป่น : น. เครื่องจิ้มอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยนํ้าปลาร้า. ก. ทําให้แหลกละเอียด ด้วยการตําเป็นต้น เช่น ป่นเกลือ ป่นปลา ป่นพริก. ว. ที่แหลก ละเอียด เช่น พริกป่น ปลาป่น เกลือป่น.
  29. ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  30. ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  31. ประคด : น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็น แผ่นสําหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสําหรับคาด อก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสําหรับคาดเอวทับ เครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.
  32. ประคบ : ว. เรียกผ้าที่ห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ อังไฟแล้วนาบหรือคลึง บริเวณที่ปวดว่า ลูกประคบ. ก. นาบหรือกดคลึงด้วยลูกประคบ.
  33. ประคำ : น. ลูกกลม ๆ ที่ร้อยเป็นพวงสําหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลา บริกรรมภาวนาหรือสําหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่ ทําด้วยทองคําเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  34. ประคำดีควาย : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Sapindus วงศ์ Sapindaceae คือ ชนิด S. trifoliatus L. ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๔-๖ ใบ และชนิด S. rarak A. DC. มีใบย่อย ๑๔-๓๐ ใบ ทั้ง ๒ ชนิด ผลกลมขนาดผลพุทรา ใช้ทํายาได้ เมื่อชงกับนํ้าร้อน ใช้ซักผ้าไหม หรือล้างเครื่องเพชรแทนสบู่ได้, มะคําดีควาย หรือ มะซัก ก็เรียก.
  35. ประเจียด : น. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็น ผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.
  36. ประดู่ลาย : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia errans Craib ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือน.
  37. ประแดะ : น. เครื่องมือของช่างทอง สําหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน ทําด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.(รูปภาพ ประแดะ)
  38. ประถม : ว. ปฐม, ลําดับแรก, ลําดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและ มงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
  39. ประทัด ๑ : น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทําด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสําหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
  40. ประทัดลม : น. เครื่องดอกไม้ไฟ ทําด้วยกระดาษห่อเม็ดกรวดคลุก สารเคมีบางชนิด ใช้ขว้างให้ไปกระทบของแข็งจะแตกระเบิดดังปัง.
  41. ประทิ่น : น. เครื่องหอม.
  42. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  43. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  44. ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  45. ประสาธน์ : [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
  46. ประหล่ำ : น. เครื่องประดับสําหรับผูกข้อมือ ทําเป็นรูปกลม ๆ สลักเป็นลวดลาย.
  47. ปรับอากาศ : ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
  48. ปรัศนี : [ปฺรัดสะ-] น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, เครื่องหมายคําถาม ก็เรียก; สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. (ส.)
  49. ปร่า : [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
  50. ปริตร : [ปะหฺริด] น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง. ว. น้อย. (ส.; ป. ปริตฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1476

(0.0820 sec)