Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตั้งเวลา, เวลา, ตั้ง , then ตง, ตั้ง, ตั้งเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตั้งเวลา, 1486 found, display 601-650
  1. แท้ง : ก. สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกําหนดคลอด โดยที่ลูกในท้องไม่ สามารถมีชีวิตอยู่ได้.
  2. แท่นมณฑล : น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาว ติดระบายรอบ ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธี เฉลิมฉลองตามลัทธิประเพณี.
  3. แท่นลา : น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทําขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตามประสงค์มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่อง ราชูปโภคเป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
  4. โทกเทก : ว. อาการที่เดินโยกเยกไม่ตั้งตัวตรง.
  5. โทหฬะ : [-หะละ] (แบบ) น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง. (ป.; ส. โทหล, โทหท).
  6. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  7. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  8. ธนาคาร : น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัท มหาชนจํากัด ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
  9. ธนาคารพาณิชย์ : (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภท รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ หมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าวด้วย.
  10. ธนาคารออมสิน : (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  11. ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
  12. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  13. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  14. ธรรมสถิติ : น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
  15. ธรรมาธิษฐาน : [ทํามาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยก หลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺ?าน).
  16. นมพวง : น. ชื่อนมที่มีฐานใหญ่ตั้งชิดกันทั้งคู่ ไม่ยานไม่งอน.
  17. นมแมว : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Rauwenhoffia siamensis Scheff. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีนํ้าตาลอ่อนเกือบนวล ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ บานเวลาเย็น กลิ่นหอม ผลสุกกินได้.
  18. นมาซ : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลาม เพื่อชำระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, ละหมาด ก็เรียก.
  19. นวล : ว. สีขาวปนเหลืองเล็กน้อย; ผ่องเป็นยองใย, งามผุดผ่อง, เช่น ผิวนวล. น. ผงแป้งที่โรยบนก้อนแป้งเวลานวดหรือปั้นเพื่อไม่ให้ติดมือติดภาชนะ เป็นต้น; ละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด เช่น นวลมะม่วง นวลแตง นวลใบตอง.
  20. นวลจันทร์ทะเล : น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียว ตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาด ยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน หรือทูน้ำจืด ก็เรียก.
  21. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  22. น้องเพล : น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
  23. นอนเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนกันมานอนรักษาการณ์นอกเวลาทํางาน.
  24. นะ ๒ : น. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคง มีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
  25. นักษัตร ๒ : [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
  26. นับประสา : ว. สํามะหา, จะเสียเวลาพูดไปทําไม, มักใช้ว่า นับประสาอะไร.
  27. นางแนบ : น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับ ประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วย ค้ำจุนทับหลังด้วย, บังอวด ก็ว่า.
  28. นาที : น. ชื่อหน่วยเวลา เท่ากับ ๑ ใน ๖๐ ของชั่วโมง. (เทียบ ส. นาฑี).
  29. นาน : ว. ยาว, ช้า, (ใช้แก่เวลา) เช่น กินเวลานาน.
  30. นามไธย : [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
  31. นามแฝง : น. ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อพรางหรือแทนชื่อจริง.
  32. นายจ้าง : ( น. ผู้จ้างทําการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้าง ตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.
  33. นายท่า : ( น. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการ ปล่อยเรือปล่อยรถตามกําหนดเวลาเป็นต้น.
  34. นาฬิกา : น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่ว นาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
  35. นาฬิกาทราย : น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลา ประกอบด้วย กระเปาะ แก้ว ๒ กระเปาะที่มีรูเล็ก ๆ ทะลุถึงกัน ข้างในบรรจุทรายที่จะไหลจาก กระเปาะหนึ่งไปยังอีกกระเปาะหนึ่งได้หมดพอดีในเวลาที่กําหนดไว้.
  36. นาฬิกาน้ำ : น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการ ไหลของนํ้าที่มีปริมาณตามที่กําหนดไว้.
  37. น้ำเกิด : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและ ลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลา ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่าถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. น้ำขาว น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่ง เป็นเชื้อหมักไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
  38. น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  39. น้ำเชื่อม : น. นํ้าตาลทรายผสมนํ้าตั้งไฟจนละลาย ใช้ใส่ขนม เช่นวุ้น นํ้าเชื่อม หรือใช้ผสมกับแป้งทําขนมชั้นหรือขนมนํ้าดอกไม้เป็นต้น.
  40. น้ำตาเทียน : น. ขี้ผึ้งซึ่งไหลออกจากเทียนเวลาจุด.
  41. น้ำตาย : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์ กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕–๙ คํ่า.
  42. น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
  43. น้ำนอง ๑ : น. ชื่อปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยง ลูกซึ่งบางครั้งอาจจะทํางานกันทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes monoceros,H. asahinai, H. birmanicus ในวงศ์ Termitidae.
  44. น้ำฝาด : น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของ ไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  45. น้ำไว : น. แสงของเพชรหรือพลอยที่พุ่งออกมาเร็วเมื่อเวลาถูกแสงไฟ หรือแสงอาทิตย์.
  46. นิคม ๑ : น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
  47. นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  48. นิคมสร้างตนเอง : (กฎ) น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ตั้งเคหสถานและ ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น.
  49. นิคมสหกรณ์ : (กฎ) น. บริเวณที่ดินที่รัฐนํามาจัดสรรให้ราษฎรที่ประกอบ อาชีพทางการเกษตร แต่ขาดแคลนที่ดินทํากิน ได้มีที่ดินทํากินในขนาดที่ เหมาะสม โดยให้ราษฎรเหล่านั้นรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น.
  50. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1486

(0.1157 sec)