Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลังเต่า, เต่า, หลัง , then ตา, เต่า, หลง, หลงตา, หลํ, หลัง, หลังเต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลังเต่า, 1524 found, display 101-150
  1. กระดอง : น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล. (ทางเหนือว่า ออง).
  2. กริว ๑ : [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
  3. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  4. ขี้ผึ้ง ๒ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  5. แขนง ๓ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  6. คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
  7. ดำแก้มขาว : ดู เต่าดำ ที่ เต่า.
  8. เทียน ๔ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า.
  9. เลื้อยคลาน : น. สัตว์เลือดเย็นจําพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจ ด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิด ออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน.
  10. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  11. กัศยป : [กัดสะหฺยบ] (แบบ) น. เต่า. (ส.).
  12. กูบ : น. ประทุนหลังช้าง, ประทุนรถเช่นรถม้าที่มีรูปโค้ง, ลักษณนามว่า หลัง.
  13. กูรม-, กูรมะ : [กูระมะ] น. เต่า. (ส.).
  14. โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
  15. ขมิ้นเครือ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด Arcangelisia flava (L.) Merr., Fibraurea tinctoria Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้, ชนิด หลัง กําแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
  16. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  17. จิตรจุล : [จิดตฺระ-] (ราชา) น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
  18. ชะโอน : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่ แหลมคมลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้นเหนือครีบอกมีจุดกลมสีดํา ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพรหรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบ หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.
  19. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  20. ทุติยาสาฬหะ : [-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
  21. นักกะ : (แบบ) น. จระเข้, เต่า. (ป.; ส. นกฺร).
  22. ปิฐิ : [ปิดถิ] (แบบ) น. หลัง. (ป. ปิฏฺ??; ส. ปฺฤษฺ?).
  23. แปด ๑ : น. จํานวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตก ในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง. แปดบท น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  24. มงโกรย : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใน แนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวน มากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลัง สีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
  25. มุ้ง : น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทําขึ้นสําหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง.
  26. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  27. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  28. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  29. อัณฑชะ : น. ''เกิดแต่ไข่'' หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากไข่ เช่น ไก่ นก เต่า. (ป., ส.).
  30. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  31. โคน ๓ : น. ชื่อตัวหมากรุกที่ใช้เดินทแยงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือเดิน ตรงไปข้างหน้าคราวละ ๑ ตา.
  32. กระจกตา : น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออก พื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตรประกอบอยู่เบื้องหน้า ของดวงตา.
  33. กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
  34. กะปะ : น. ชื่องูพิษชนิด Calloselasma rhodostoma ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่ เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และ มีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.
  35. กะพง ๑ : น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง (Lutjanus malabaricus) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว (Lates calcarifer) ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย (Datnioides quadrifasciatus) ในวงศ์ Lobotidae.
  36. กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
  37. กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
  38. แก้วตา : น. ส่วนสําคัญของตาที่ทําให้แลเห็น, ส่วนใสของดวงตา มีรูปกลมนูนทั้ง ๒ ข้าง ลักษณะใส แต่พื้นหลังนูนออกมากกว่าพื้นหน้า ตั้งอยู่ภายในดวงตา (ข้างหลังกระจกตา กั้นอยู่ระหว่าง posterior chamber กับ vitreous body ของดวงตา); โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่รักยิ่ง.
  39. ข้าวตก : น. ข้าวที่หลงเหลืออยู่ในท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว.
  40. เข้าคิว : ก. เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง.
  41. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  42. ไข้เหลือง : น. โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึง แก่ชีวิตภายใน ๖-๗ วัน. (อ. yellow fever).
  43. คิว ๒ : น. แถวตามลําดับก่อนหลัง เช่น เข้าคิว คิวรถ. (อ. queue).
  44. แค้ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด Bagarius bagarius ในวงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
  45. จริว ๑ : [จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.
  46. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  47. ช่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus ในวงศ์ Channidae ลําตัวทรงกระบอกส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนว เส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลําตัวเป็นสีนํ้าตาลเทา หรือค่อนข้างดํา ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดําพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดํา พบชุกชุม ทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
  48. ซ่อนทราย : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Acanthopsis choirorhynchos ในวงศ์ Cobitidae หัวแหลม ตาเล็ก มีหนวดสั้น ๔ คู่ เกล็ดเล็ก ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีนํ้าตาลอ่อน มีจุดดําขนาดต่าง ๆ กระจายทั่วตัว พบอาศัยในแหล่งนํ้าไหลที่พื้นท้องนํ้าเป็นทรายหรือกรวดหิน ทั่วประเทศ, กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. (๒) ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillago วงศ์ Sillaginidae หัวหลิม ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีชุกชุมเป็นฝูง ไซ้ทรายอยู่ตามเขตนํ้าตื้นบริเวณชายฝั่ง ลําตัว สีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา หลายชนิดมีแต้มสีเข้มกว่า เรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง, เห็ดโคน ก็เรียก.
  49. แซงแซว : น. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดําหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก (D. remifer) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (D. paradiseus), ๒ ชนิดหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.
  50. ตริว : [ตฺริว] น. เต่า, กริว หรือ จริว ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1524

(0.1236 sec)