Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลังเต่า, เต่า, หลัง , then ตา, เต่า, หลง, หลงตา, หลํ, หลัง, หลังเต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลังเต่า, 1524 found, display 551-600
  1. ภู่ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุม ลําตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาว ออกมาคล้ายหนวด ขาหลังตรงบริเวณส้นเท้ามีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือรวม ๒–๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้งที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes และ ชนิด X. caeruleus, แมลงภู่ ก็เรียก.
  2. มด ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และ ปลวก.
  3. มนัส, มนัส- : [มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
  4. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ : [มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).
  5. มฤคศิรัส : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
  6. มวน ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ เนื้อปีกบริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด เมื่อพับปีกจะแบนราบไปตามสันหลัง แต่บางชนิดก็ไม่มีปีก ปากเป็นท่อยาวคล้ายเข็ม โผล่ทางด้านล่างบริเวณปลายหัว หลายชนิดปล่อยกลิ่นเหม็นได้และเป็นศัตรูพืชพวกที่อยู่ ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว (Rhynchocoris humeralis) ทําลายส้ม, แมงแกง (Tessaratoma javanica) ทําลายลําไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น มวนแดงฝ้าย (Dysdercus cingulatus)ทําลายทุกส่วนของฝ้าย.
  7. มวยปล้ำ : น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.
  8. มหาธาตุ : น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพล ขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลัง พระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรี รัตนมหาธาตุบ้าง.
  9. มหาศักราช : น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).
  10. มอญซ่อนผ้า : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
  11. มะเขือ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้คือ ชนิด S. melongena L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้, มะเขือยาว [S. melongena L. var. serpentinum (Desf.) Bailey] ผลยาว มีหลายสี, ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (S. aculeatissimum Jacq.) รากใช้ทํายาได้.
  12. มะเหงก : [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบ คํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.
  13. มังกง : น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและ ครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
  14. มังกร ๒ : น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox วงศ์ Muraenesocidae ลําตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากกว้าง จะงอยปากบนยาวลํ้ากรามล่าง ฟันคม แข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนปนเหลืองหรือคลํ้า ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางสีดํา ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร, ยอดจาก เงี้ยว หลด หรือ ไหล ก็เรียก.
  15. ม้า ๓ : น. ชื่อปลาชนิด Boesemania microlepis ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัว กว้างมากในแนวอกและท้อง ลาดแอ่นลงไปสุดปลายหัว และเรียวเล็ก ลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลาย แหลม ครีบท้องมีปลายยาวเป็นเส้น เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่น ชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายแหลมของครีบหาง ลําตัวและ หัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว.
  16. ม่านลาย : น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่า กระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน, กริวลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.
  17. ม้าน้ำ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่ โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
  18. มิคสิระ ๒, มฤคศิระ, มฤคเศียร : [-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ป. มิคสิร; ส. มฺฤคศิรสฺ).
  19. มิติ ๑ : น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็น มิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และ ถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).
  20. มุทธชะ : [มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการ ม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่ พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).
  21. เมธ : [เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
  22. เม่า ๒ : น. เรียกปลวกในระยะที่มีปีก ซึ่งบินออกผสมพันธุ์กัน ลําตัวขนาดต่างกัน ยาวตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ถึง ๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลําตัว ลักษณะ เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อหุบปีก ปีกจะแบนราบไปบนหลัง สลัดปีกได้ง่าย ลําตัวสีนํ้าตาล ว่า แมลงเม่า.
  23. แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
  24. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  25. แมงไฟเดือนห้า : ดู เต่าบ้า.
  26. แมลง : [มะแลง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี ๖ ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี ๑ หรือ ๒ คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก มักเรียกสับ กับคําว่า แมง.
  27. แมลงวันสเปน : น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Lytta vesicatoria ในวงศ์ Meloidae เกิดขึ้นมากในฤดูร้อนในสเปนและส่วนอื่นของยุโรป ตัวยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายเต่าบ้า แต่สีเขียวปนทองหรือค่อนไปทางนํ้าเงินตลอดตัว มีสารแคนทาริดินอยู่ในตัวเช่นเดียวกับเต่าบ้า. (อ. Spanish fly).
  28. โมง ๑ : น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
  29. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  30. ไม้ประกับคัมภีร์ : น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับ ด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.
  31. ยกกลีบ : ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตาม แนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น.
  32. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  33. ย้อน : ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.
  34. ย้อนต้น : ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือ ย้อนต้น.
  35. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  36. ยังมี : ว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมี กรุงกษัตริย์.
  37. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  38. ยานี : น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คํา จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คํา วรรคหลัง ๖ คํา; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.
  39. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  40. ยิงลม : น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  41. ยี่สน : น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้าน หลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก.
  42. ยืดหยุ่น : (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้ หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความ ว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
  43. ยืนค้ำหัว : ก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่.
  44. ยุทธหัตถี : น. การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่าง กษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหา อุปราชา, การชนช้าง ก็ว่า.
  45. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  46. เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
  47. แย้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ลําตัวแบนราบ ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ แย้เส้น (Leiolepis belliana belliana) และ แย้จุด (L. b. rubritaeniata).
  48. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  49. รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  50. รถแทรกเตอร์ : น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และ แบบล้อซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1524

(0.1281 sec)