Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รกา , then รก, รกะ, รกา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รกา, 156 found, display 51-100
  1. เงาะป่า : ดู กระทกรก(๒).
  2. จรก : [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.).
  3. จรอก ๑ : [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้าย โดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
  4. จิงโจ้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรง ใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติดออกมา มีถุงที่หน้าท้องสําหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus, M. giganteus มีถิ่นกําเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
  5. แจรก : [แจฺรก] (กลอน) ก. แจก, แตกออก, กระจายออก, แยกออก.
  6. ชรายุ : [ชฺรา] (แบบ) น. คราบงู, รกที่ห่อหุ้มลูกคนหรือลูกสัตว์. (ส.).
  7. ชักโครก : [โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
  8. ชัฏ : [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  9. ชายเฟือย : น. ริมนํ้าที่มีหญ้ารก ๆ หรือมีไม้นํ้าปกคลุม; ที่ที่สะดวก, ที่ที่ง่าย, เช่น หากินตามชายเฟือย.
  10. ชิงทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้ กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือ การพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือ เอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
  11. เซิง ๑ : น. ที่รกเป็นสุมทุมพุ่มไม้หรือมีไม้เถาปกคลุมอยู่ข้างบน, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมยุ่งเป็นเซิง, กระเซิง ก็ว่า.
  12. ดอกจันทน์ : น. รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ. (ดู จันทน์เทศ ที่ จันทน์).
  13. ดุรค, ดุรคะ : [ดุรก, ดุระคะ] (แบบ) น. ม้า. (ป., ส. ตุรค ว่า สัตว์ไปเร็ว).
  14. ตระกวน : [ตฺระ-] น. ผักบุ้ง. (ข. ตฺรกวน).
  15. ตอบโต้ : ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทําของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น.
  16. ตะกอน : น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของ ชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
  17. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  18. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  19. ทารุณกรรม : [ทารุนนะกํา] น. การกระทําอย่างโหดร้าย. (ส.).
  20. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  21. แทรกเตอร์ : [แทฺรก-] น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และแบบล้อ ซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า. (อ. tractor).
  22. ธมกรก : [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.).
  23. นั่งปรก : [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยัง วัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  24. นาคปรก : [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาค แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่ง ประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกาย ไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
  25. นาโครคินทระ : [นาโคระคินทฺระ] (แบบ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรก คํานึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).
  26. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  27. นิยัตินิยม : [นิยัดติ] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทําทุกอย่างของมนุษย์หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
  28. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  29. บ่ง : ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทําของเขา บ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทําผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อ เอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.
  30. บริจารก : [บอริจารก] น. คนใช้, คนบําเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
  31. บักโกรก : [-โกฺรก] (ปาก) ว. ซูบผอมเพราะหักโหมกําลังเกินไป.
  32. บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
  33. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  34. บุญ, บุญ- : [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
  35. เบรก : [เบฺรก] น. เครื่องห้ามล้อ. ก. ห้ามล้อ. (อ. brake).
  36. แบรก : [บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
  37. ปกรณ์ : [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
  38. ปกรณัม : [ปะกะระนำ] น. ปกรณ์, เรื่อง, เช่น ปักษีปกรณัม. (ส. ปฺรกรณ; ป. ปกรณ).
  39. ปฏิกิริยา : น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
  40. ปมจิต : น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ใน จิตใต้สํานึกมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทําให้บุคคลผู้นั้นแสดง ออกในด้านความคิดความรู้สึก และการกระทําในลักษณะที่ซํ้ากัน จนเกิดเป็นอุปนิสัยประจําตัว.
  41. ปมด้อย : น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทํา ของบุคคล ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
  42. ปรก ๑ : [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
  43. ปรก ๒ : [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.
  44. ปรกติ : [ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  45. ประเจิดประเจ้อ : ว. อาการกระทําที่ถือกันว่าน่าละอายหรือ ไม่บังควรให้คนอื่นเห็น.
  46. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  47. ประสบการณ์ : [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทํา หรือได้พบเห็นมา.
  48. ปล่อย : [ปฺล่อย] ก. ทําให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก; ยอมให้ เช่น ปล่อยให้เข้ามา; ละเลย เช่น ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง ปล่อยให้นํ้าล้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท
  49. ปลูก : [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้ งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทํา ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
  50. แปดสาแหรก : [-แหฺรก] น. คําเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของ ปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและ มารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้). แปดเหลี่ยมแปดคม, แปดเหลี่ยมสิบสองคม (สํา) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-156

(0.0501 sec)