Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, เครื่อง, กำเนิด, ไฟฟ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, 1578 found, display 51-100
  1. เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
  2. เครื่องมั่น : น. สัปคับช้างชนิดที่มีศัสตราวุธทั้ง ๒ ข้าง.
  3. เครื่องร่ำ : น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กํายาน.
  4. เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
  5. เครื่องว่าง : (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.
  6. เครื่องสะดุ้ง : (โบ) น. นาคสะดุ้ง.
  7. เครื่องสังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัด ถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.
  8. เครื่องสุกำศพ : น. สิ่งของที่ใช้ในการทําสุกําศพ มีผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง นํ้ายาฟอร์มาลิน.
  9. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  10. เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
  11. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  12. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  13. แคโทด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วลบของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ไฟฟ้า. (อ. cathode).
  14. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  15. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  16. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  17. โทรทัศน์ : น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพ ตามเดิมว่า เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
  18. โทรศัพท์ : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็น เครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนํา โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียน ย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
  19. ปลั๊ก, ปลั๊กไฟ : [ปฺลั๊ก] น. อุปกรณ์ไฟฟ้ามีขาโลหะ ๒ ขา (บางแบบมี ๓ ขา) ปลาย ข้างหนึ่งของแต่ละขาตรึงอยู่กับวัตถุหุ้ม ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้เสียบ เข้ากับเต้ารับเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ครบวงจร, เต้าเสียบ ก็เรียก. (อ. plug).
  20. ปั่นไฟ : ก. ผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้า, เดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้า. น. เรียกเครื่องกําเนิดไฟฟ้าว่า เครื่องปั่นไฟ.
  21. พัดลม : น. เครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้าเป็นต้น; เครื่องฉุดระหัด ด้วยกําลังลม.
  22. พุก ๓ : น. เครื่องกระเบื้องที่ตรึงกับฝาเป็นต้นสำหรับยึดสายไฟฟ้า.
  23. แพลทินัม : [แพฺล] น. ธาตุลําดับที่ ๗๘ สัญลักษณ์ Pt เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเงินเป็นเงางามหลอมละลายที่ ๑๗๖๙ํซ. ใช้ประโยชน์ นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นเครื่องประดับที่มี ค่าสูง. (อ. platinum).
  24. ไฟฉาย : น. เครื่องทําความสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์สําคัญ คือ จานฉายรูปโค้งสําหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุ อยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้ มักทําเป็นรูปทรงกระบอก.
  25. มาตร ๑, มาตร- ๑ : [มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
  26. มิเตอร์ : น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และ มุม เช่น มิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า, มาตร ก็ว่า. (อ. meter).
  27. รถจักรยานยนต์ : น. รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน ๒ ล้อ ถ้ามีพ่วง ข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน ๑ ล้อ.
  28. วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  29. หัวเทียน : น. เดือยหัวเสาสําหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทํา หน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.
  30. หัวแร้ง : น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัด แล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อ ทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่ว บัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.
  31. อิเล็กโทน : น. เครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สามารถทําเสียงเครื่องดนตรี หลายชนิดได้ในเวลาเดียวกัน. (อ. electone).
  32. แอโนด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วบวกของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่. (อ. anode).
  33. แอมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดค่าของกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์. (อ. ammeter).
  34. โอห์มมิเตอร์ : น. เครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้สําหรับวัดค่าของความ ต้านทานเป็นโอห์ม. (อ. ohmmeter).
  35. เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
  36. ฉกรรจ์ลำเครื่อง : (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะ เข้ารบได้ทันทีเช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
  37. ช่างเครื่อง : น. ผู้ควบคุมเครื่อง.
  38. ดับเครื่อง : ก. ทําให้เครื่องยนต์เครื่องกลไกเป็นต้นหยุด, ถ้าเครื่องยนต์ เครื่องกลไกเป็นต้นหยุดเอง เรียกว่า เครื่องดับ.
  39. ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
  40. ปี่พาทย์เครื่องคู่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  41. ปี่พาทย์เครื่องห้า : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
  42. ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และ ฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก. ปี่อ้อ น. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือ เงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
  43. พระเครื่อง : น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
  44. พิณพาทย์เครื่องคู่ : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  45. พิณพาทย์เครื่องห้า : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก. พิณพาทย์เครื่องใหญ่ น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาด เอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้อง วงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้อง โหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
  46. ม่ายทรงเครื่อง : ว. เรียกแม่ม่ายที่มั่งมีว่า แม่ม่ายทรงเครื่อง.
  47. ยืนเครื่อง : น. ตัวพระนางที่แต่งเครื่องกษัตริย์.
  48. รัดเครื่อง : ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้า ให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.
  49. เรือนเครื่องผูก : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้น, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  50. เรือนเครื่องสับ : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1578

(0.0564 sec)