Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเนื้อ, เนื้อ, เจ้า , then จา, เจ้, เจ้า, เจ้าเนื้อ, นอ, เนื้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเนื้อ, 1578 found, display 1451-1500
  1. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  2. เออร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗?ซ. ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. erbium).
  3. เอางาน : ก. แสดงความเคารพเจ้านายชั้นสูงโดยแบมือเอาสันมือ ลงแล้วกระดกมือขึ้นน้อย ๆ ก่อนรับของ (ใช้แก่การรับของจาก เจ้านายชั้นสูงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม).
  4. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  5. เอือน ๒ : น. ลักษณะของเนื้อมะพร้าวแก่ที่บาง ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด มีรสออกหวานไม่มัน เรียกว่า มะพร้าวเป็นเอือน หรือ มะพร้าว เอือนกิน.
  6. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  7. แอบอ้าง : ก. เอาไปอ้างโดยเจ้าตัวไม่รู้.
  8. โอ๊ก ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Quercus วงศ์ Fagaceae เนื้อไม้ ใช้ทําเครื่องเรือน. (อ. oak).
  9. โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
  10. โอรส : [รด] น. ลูกชาย (ใช้แก่เจ้านาย). (ป. โอรส ว่า ผู้เกิดแต่อก).
  11. ไอศวรรย์ : [ไอสะหฺวัน] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน; อํานาจ; (กลอน) สมบัติแห่งพระราชาธิบดี, ใช้ว่า ไอศุริย หรือ ไอศูรย์ ก็มี. (ส. ไอศฺวรฺย; ป. อิสฺสริย).
  12. นอ ๒ : น. เครื่องดุริยางค์ของชาวมูเซอ.
  13. จาคะ : น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
  14. จาตุรนต์รัศมี : น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
  15. มัญจกะ, มัญจา : [มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).
  16. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  17. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  18. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  19. จ่า ๑ : น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตํารวจชั้นประทวน
  20. จ่า ๒ : ก. บอก, เขียนบอก; ถูกปรับ (ในการเล่นโยนหลุมเป็นต้น).
  21. จ่า ๓ : น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า.
  22. เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  23. เจ่า ๒ : ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
  24. ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
  25. กระซู่ : น. ชื่อแรดชนิด Dicerorhinus sumatrensis ในวงศ์ Rhinocerotidae มี ๒ นอ ขนดกกว่าแรดชนิดอื่น เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด.
  26. แรด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์ กีบคี่ มี ๓ นิ้ว ขาสั้น ตาเล็ก หูตั้ง ประสาทรับฟังเสียงและดมกลิ่นดีมาก หนังหนา มีทั้งชนิดนอเดียวและ ๒ นอ กินพืช นอนปลัก ในประเทศไทย มี ๒ ชนิด คือ แรดนอเดียว ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า แรด (Rhinoceros sondaicus) และกระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis) ซึ่งมี ๒ นอ.
  27. จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  28. จารวาก : [จาระ-] น. ลัทธิโลกายัต. (ดู โลกายัต ที่ โลก, โลก-).
  29. นร : [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
  30. นรการ : [นอระกาน, นะระกาน] น. ช้างสีดอ, ช้างตัวผู้ มีงาสั้น.
  31. นรเทพ, นรนาถ, นรนายก, นรบดี, นรบาล, นรราช : [นอระ] น. พระราชา. (ป., ส.).
  32. นรพยัคฆ์ : [นอระ] น. สมิงมิ่งชาย คือ คนเก่งกาจราวกับเสือ. (ป.).
  33. นรเศรษฐ์ : [นอระ] น. คนประเสริฐ; พระราชา. (ส.).
  34. นรสิงห์, นรสีห์ : [นอระ] น. คนปานสิงห์, นักรบผู้มหาโยธิน. (ส., ป.).
  35. กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  36. กระจ่า : น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, จวัก จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
  37. กระเรียน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้า รับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
  38. กว่าง : [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.
  39. กอล์ฟ : [กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
  40. กะหนอกะแหน : [-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.
  41. กำแพงขาว : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).
  42. กิจจานุกิจ : [กิดจานุกิด] น. การงานน้อยใหญ่ หมายเอาการงานทั่วไป. (ป.).
  43. เกน ๆ : ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ, เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก).
  44. ขจ่าง : [ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจํารัสศรี. (สรรพสิทธิ์).
  45. แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
  46. คลาด : [คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกําหนดเวลา; ไม่พบ ในคําว่า คลาดกัน.
  47. ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  48. คอบ ๑ : (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
  49. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  50. จระลุง, จะลุง : [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | [1451-1500] | 1501-1550 | 1551-1578

(0.1181 sec)