Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าเนื้อ, เนื้อ, เจ้า , then จา, เจ้, เจ้า, เจ้าเนื้อ, นอ, เนื้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าเนื้อ, 1578 found, display 701-750
  1. ทะเล้น : ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  2. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  3. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  4. ท่านชาย : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
  5. ท่านหญิง : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายหญิงชั้นหม่อมเจ้า.
  6. ท้าว ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่ง บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่ เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
  7. ท่าอากาศยาน : น. ที่สําหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอด เครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทําการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
  8. ทำมัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litsea petiolata Hook.f. ในวงศ์ Lauraceae ใบและเนื้อไม้มีกลิ่นคล้ายแมงดา, ชะมัง ก็เรียก.
  9. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  10. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  11. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  12. ทิวงคต : (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้ รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
  13. ทุงงะ : (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัว ตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
  14. ทุบ : ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไป บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือ เพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากําปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
  15. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  16. ทุเรียน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กําปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
  17. ทูล : ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
  18. ทูลกระหม่อม ๑ : น. คําสําหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็น อัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง.
  19. เทพนารี : [เทบ-] น. นางกษัตริย์, เจ้าหญิง.
  20. เทพนิยม : [เทบ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าจํานวนมากประจําอยู่ใน สรรพสิ่ง แต่พระเจ้านั้นไม่มีอํานาจครอบครองโลก.
  21. เทพบดี : [เทบบอดี] น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. (ส.).
  22. เทพาธิบดี : น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอิศวร. (ป., ส.).
  23. เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ : [-เวด] น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา; พระราชา, เจ้านาย.
  24. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  25. เทื้อ ๒ : ว. สาวแก่, ทึนทึก; ไม่ว่องไว เช่น จะหนักเนื้อแลเทื้อองค์. (กฤษณา).
  26. แท่ : น. เนื้อแมงกะพรุนหมักเกลือ ทําเป็นแผ่น ใช้เป็นอาหาร. (จ.).
  27. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  28. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  29. ธนาณัติ : น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทําการ ไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทําการไปรษณีย์ แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).
  30. ธเนศ, ธเนศวร : [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
  31. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  32. ธาตุ ๓ : [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.
  33. นครินทร์ : [นะคะ] น. จอมนคร, เจ้าเมือง, เมืองใหญ่. (ส. นคร + อินฺทฺร).
  34. นเคนทร์, นเคศวร : น. เจ้าเขา, เขาหิมพานต์, เขาไกรลาส. (ส.).
  35. นพคุณ : [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
  36. นฤพาน : [นะรึ] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่ พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จ
  37. นวนิยาย : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครง เรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง.
  38. นวลหง : [นวนละหง] ว. มีสีเนื้อนวลงาม.
  39. นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
  40. นองเลือด : ว. อย่างดุเดือดและต้องเสียเลือดเนื้อหรือล้มตายกันเป็น จํานวนมาก เช่น รบกันนองเลือด.
  41. น้อยหน่า : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Annona squamosa L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกหนา มี ๓ กลีบ ผลสีเขียว ผิวนูนเป็น ตา ๆ เนื้อในผลหนาขาว รสหวาน มีเมล็ดมาก.
  42. น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  43. นักนิ่น : ว. นิ่ม, อ่อน, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น จากมานักนิ่นเนื้อ นอน หนาว. (กำสรวล).
  44. นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
  45. นากสวาด : [สะหวาด] ว. เรียกสีสวาดชนิดที่มีสีนากเจือ, เรียกสีเนื้อโลหะ พระพุทธรูปที่มีสีแดงอมส้ม.
  46. นาง ๔ : ดู ชะโอน และ เนื้ออ่อน.
  47. นางกำนัล : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับ พระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
  48. นางรม ๒ : น. ชื่อเห็ดชนิด Pleurotus ostreatus (Fr.) Qu?l. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นเป็นกลุ่มบนขอนไม้ โคนก้านดอกติดกัน มีหลายพันธุ์ ดอกเห็ด สีขาวหรือขาวอมเทา เนื้อนุ่มกินได้, ชื่อที่ถูกต้องคือ เห็ดหอยนางรม.
  49. นางห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง.
  50. นาเมือง : น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1578

(0.1473 sec)