Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทันตกรรม, ทันต, กรรม , then กมฺม, กรรม, ทนต, ทนฺต, ทันต, ทันตกรรม, ทันตะ, ทันตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทันตกรรม, 158 found, display 101-150
  1. พิบาก : น. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).
  2. แพะรับบาป : (สํา) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทํากรรมนั้น.
  3. ฟ้าเคืองสันหลัง : (สํา) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่ เกิดจากอํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึง รําพัน. (ขุนช้างขุนแผน).
  4. ฟาร์ม : น. อาณาบริเวณที่ใช้ทําการเกษตรกรรม มีเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เช่น ทำฟาร์มปลูกข้าวโพดข้าวฟ่างเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาเป็นต้น. (อ. farm).
  5. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  6. มานัต : น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
  7. โมฆกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
  8. โมฆียกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่ เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
  9. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  10. ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
  11. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  12. รับบาป : ก. รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น, รับความผิดหรือ โทษทัณฑ์แทนผู้ที่ทำความผิด.
  13. แรง ๑ : น. กําลัง เช่น แรงคน ไม่มีแรง มีแรงมาก ออกแรง, อํานาจ เช่น แรงเจ้าที่ แรงกรรม. ว. ฉุน, จัด, กล้า, เช่น กลิ่นแรง; ใช้กําลังกระทําถึงขีด เช่น อย่าทำแรง ตีแรง ๆ, แข็ง, มีกําลัง; ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ที่นี่เจ้าที่แรง; อัตรา การทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น งานนี้ต้องใช้ ๑๐ แรง. ก. ออกแรง; หมกมุ่น เช่น แรงเสพ แรงเล่น.
  14. แล้วแต่ : ว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการ ตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณา อนุมัติหรือไม่.
  15. วัวใครเข้าคอกคนนั้น : (สํา) น. กรรมที่มีผู้ใดทําไว้ย่อมส่งผลให้แก่ ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง.
  16. วาจก : น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก. (ป., ส.).
  17. วินิบาต : น. การทําลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์, เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).
  18. วิบาก : น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทําไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).
  19. วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  20. วิสสุกรรม : น. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
  21. เวร ๑ : น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่น เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวรคําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรม ของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
  22. เวสสุกรรม : น. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม วิสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
  23. ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
  24. กรรมกริยา : [สะกํากฺริยา, สะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทํามารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
  25. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  26. สติวินัย : น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลยไว้ซึ่ง เรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
  27. สนอง : [สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนอง โครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).
  28. หมดเคราะห์ : ก. สิ้นเคราะห์กรรมที่เลวร้าย.
  29. กรรมกริยา : [อะกํากฺริยา, อะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
  30. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  31. อนวัช, อนวัช : [อะนะวัด, อะนะวัดชะ] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตําหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).
  32. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  33. อานิสงส์ : น. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).
  34. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  35. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  36. อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
  37. อุปโยคบุรพบท : [อุปะโยคะบุบพะบด, บุระพะบด] น. ในไวยากรณ์ หมายถึงคํานําหน้ากรรมการก.
  38. โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
  39. ทนตกาษฐ์ : [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟัน ให้สะอาด ทําจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ?).
  40. กรรมกร : [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
  41. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  42. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  43. กายกรรม : น. การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
  44. ประติมากรรม : [ปฺระติมากํา] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจําพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการ แกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
  45. ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  46. ทันตแพทย์ : [ทันตะ-] น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
  47. กุกรรม : (แบบ) น. การชั่ว, การไม่ดี. (ส.; ป. กุกมฺม).
  48. ทนดี ๒ : (แบบ) น. ช้าง. (ป. ทนฺตี; ส. ทนฺตินฺ ว่า สัตว์มีงา).
  49. ทันติน, ทันต : (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
  50. ทิฏฐะ, ทิฐ- : [ทิดถะ-] (แบบ) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ?; ส. ทฺฤษฺฏ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-158

(0.0710 sec)