Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทันตกรรม, ทันต, กรรม , then กมฺม, กรรม, ทนต, ทนฺต, ทันต, ทันตกรรม, ทันตะ, ทันตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทันตกรรม, 158 found, display 51-100
  1. ลูกเวรลูกกรรม : น. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับ ความเดือดร้อน.
  2. ศัสตรกรรม : น. การผ่าตัดทางแพทย์. (ส.).
  3. โหมกรรม : น. พิธีเซ่นสรวง. (ส. โหม + กรฺมนฺ).
  4. อายุรกรรม : น. การรักษาโรคทางยา.
  5. อุโบสถกรรม : [อุโบสดถะกำ] น. การทําอุโบสถ. (ป. อุโปสถกมฺม).
  6. อุปสมบทกรรม : [บดทะกำ] น. การบวชเป็นภิกษุ.
  7. โอสถกรรม : น. การแพทย์แผนกใช้ยา, การรักษาไข้ด้วยวิธีใช้ยา.
  8. กรม ๕ : [กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคําว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกํานนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
  9. กรรม : [กัน] (กลอน) น. กรรม
  10. กรรมัชวาต : [กํามัดชะ-] ดู กรรมชวาต ที่ กรรมกรรม- ๑.
  11. การก : [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และ วิเศษณการก. (ป., ส.).
  12. กำ ๓, กำม : (โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกําไว้, ท่านว่าเป็นกํามของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  13. อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  14. ทนต-, ทนต์ : [ทนตะ-, ทน] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง. (ป., ส. ทนฺต).
  15. กรรมชรูป : [กํามะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).
  16. กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  17. ยถากรรม : [ยะถากํา] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).
  18. วจี : [วะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ). วจีกรรม น. การพูด, การกระทําทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็น การทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).
  19. วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
  20. อโหสิกรรม : [อะ] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การ ไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).
  21. ก็ ๒ : นิ. ไขความ เช่น ถึงแก่กรรมก็ตายนั่นเอง ประสาทพิการก็บ้านั่นเอง, เน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้ง เช่น ทั้งฟืนเจ้าก็หัก ทั้งผักเจ้าก็หา.
  22. กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  23. กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
  24. กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
  25. กรรมบถ : [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
  26. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  27. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  28. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  29. กลิ้งเกลือก : ก. พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้ เช่น ยากจนก็กลิ้งเกลือกไปตามบุญตามกรรมไม่ขอพึ่งใคร, เกลือกกลิ้ง ก็ใช้.
  30. กลูน, กลูน์ : [กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
  31. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  32. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  33. เข้าปก : ก. เย็บปกหนังสือ. เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวัน ที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
  34. จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  35. ฉัททันต : (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
  36. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  37. ถึงแก่มรณกรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงมรณกรรม ก็ว่า.
  38. ถึงมรณกรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
  39. ทอดแห : ก. เหวี่ยงแหให้แผ่กว้างออกไปเพื่อจับปลาเป็นต้น. ทอดอาลัย ก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือ มีความเสียดายอยู่.
  40. ทำบาป : ก. ประกอบกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น, ทําบาป ทํากรรม ก็ว่า.
  41. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  42. ทำวัตร : ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่น ไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  43. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  44. ธรณีสูบ : ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
  45. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  46. บัพพาชนียกรรม : [บับพาชะนียะกํา] น. กรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่ บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
  47. บาปหนา : [บาบหฺนา] น. บาปมาก. ว. มีบาปมาก, มีบาปสั่งสม ไว้มาก, มีกรรมมาก, เช่น คนบาปหนา.
  48. ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  49. ปริวาส : [ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
  50. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-158

(0.0772 sec)