Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องเซ่น, เครื่อง, เซ่น , then ครอง, ครองซน, เครื่อง, เครื่องเซ่น, ซน, เซ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องเซ่น, 1619 found, display 1051-1100
  1. เมฆพัด : [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
  2. เมธ : [เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
  3. เมริเดียน : (ภูมิ) น. ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลกซึ่งเรียกว่า เหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลก แต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น.
  4. เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
  5. เมล์อากาศ : น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
  6. เมา : ก. เอาไปวางสุมไว้. ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.
  7. เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
  8. เมี่ยง ๒ : น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม.
  9. แม่กุญแจ : น. ลูกกุญแจที่ไขตัวกุญแจชนิดเดียวกันได้ทั่วไป. (อ. master key); ตัวกุญแจ คือ เครื่องลั่นประตูหรือหีบ มีลูกกุญแจสำหรับไข.
  10. แม่แรง : น. เครื่องสําหรับดีดงัดหรือยกของหนัก, โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นกําลัง สําคัญในการงาน.
  11. โม่ : น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
  12. โมเสก : น. เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สําหรับปูพื้นหรือบุผนัง. (อ. mosaic).
  13. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  14. ไม้ ๒ : น. ชื่อเครื่องหมายกํากับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ? เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ?เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
  15. ไม้ขีดไฟ : น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลาย ข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสําคัญทํา ให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทําให้เกิดไฟขึ้น.
  16. ไม้ค้อน : น. ไม้ที่ทำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้ตีระฆังเป็นต้น; เครื่องมือโลหะรูปร่าง คล้ายตะลุมพุก แต่เล็กกว่ามาก สำหรับตีทองคำให้เป็นแผ่นทองคำเปลว, เครื่องมือ ทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายตะลุมพุก สำหรับเคาะกระดาษสาเป็นต้นให้เป็นแผ่นเพื่อใช้ เป็นใบซับทองคำเปลว. (รูปภาพ ไม้ค้อน)
  17. ไม้แคะหู, ไม้ควักหู : น. เครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะหรืองาเป็นต้น ปลายโค้ง หรืองอคล้ายจวัก สำหรับแคะและควักขี้หู.
  18. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  19. ไมโครมิเตอร์ : [-โคฺร-] น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดระยะที่สั้นมาก และวัดมุมขนาดเล็ก ให้ได้ผลอย่างละเอียด. (อ. micrometer).
  20. ไม้ฉาก : น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
  21. ไม้ดำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros brandisiana Kurz ในวงศ์ Ebenaceae เนื้อไม้แข็ง สีดํา ใช้ทําเครื่องเรือน.
  22. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  23. ไม้ทัณฑฆาต : น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
  24. ไม้เมตร : น. เครื่องมือวัดความยาวทําด้วยไม้เป็นต้น ยาว ๑ เมตร.
  25. ไม้ยาว : น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่น กระบี่กระบอง, คู่กับ ไม้สั้น. (ดู ไม้สั้น).
  26. ไม้วา : น. ไม้เครื่องวัดความยาวมีกําหนด ๔ ศอก.
  27. ไม้สอย : น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
  28. ไม้สั้น : น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมี ไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้าม กับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น.
  29. ไม้สามอัน : น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้ อันหนึ่ง เจ้ามือกําไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.
  30. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  31. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  32. ยวดยาน : น. เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น.
  33. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  34. ยอ ๓ : น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสําหรับยก.
  35. ยัญกรรม : น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  36. ยัญพิธี : น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  37. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  38. ยาซับ : น. สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุน เพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น.
  39. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  40. ยาน ๑ : น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
  41. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  42. ย่าม ๑ : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัว สําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.
  43. ยาหม้อ : น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยา อื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
  44. ยิงลม : น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  45. ยิฏฐะ, ยิฐะ : [ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ?; ส. อิษฺฏ).
  46. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  47. ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  48. ยุต ๒ : [ยุด] น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
  49. ยุทธภัณฑ์ : (กฎ) น. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สาร รังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนําไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้.
  50. ยุทโธปกรณ์ : น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ใน ราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนตร์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภค อันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทาง ทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1619

(0.1296 sec)