Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คำนำหน้า, หน้า, คำนำ , then คำนำ, คำนำหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คำนำหน้า, 1621 found, display 1051-1100
  1. มุ่ง : ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.
  2. มุติงค์ : น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุติงฺค; ส. มฺฤทงฺค).
  3. มุทิงค์ : น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุทิงฺค; ส. มฺฤทงฺค).
  4. มุ่ย : ว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.
  5. มู่ทู่ : ว. ป้าน, ไม่แหลม, สั้น อ้วน ใหญ่ (ใช้แก่หน้า) เช่น หมาบูลด๊อกหน้ามู่ทู่.
  6. มู่ลี่ : น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทํานองม่าน ทําด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือก เป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.
  7. เม็ดเลือด, เม็ดโลหิต : น. เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด มี ๒ ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่นําออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและเม็ดเลือดขาวซึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและทําลายเชื้อโรคในร่างกาย.
  8. เมตไตรย : [เมดไตฺร] น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. (ป. เมตฺเตยฺย; ส. เมไตฺรย).
  9. เม่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลําตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บ แข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) เม่นใหญ่แผงคอสั้น (H. hodgsoni) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus).
  10. เมิน : ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.
  11. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  12. แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
  13. แม่รีแม่แรด : ว. ทําเจ้าหน้าเจ้าตา.
  14. แมลงช้าง : น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Myrmeleontidae รูปร่างอ้วน ป้อม มีขนเป็นกระจุกตามลําตัว ขากรรไกรหน้ายาวยื่นและโค้งเหมือน งาช้าง ฝังตัวอยู่ในหลุมทรายซึ่งขุดเป็นรูปกรวย เพื่อล่อให้มดหรือสัตว์เล็ก ๆ ตกลง ไปในหลุมแล้วขึ้นไม่ได้ จะได้จับกินเป็นอาหาร, ตุ้ม ตุ๊ดตู่ หรือ แมงช้าง ก็เรียก.
  15. แมว ๒ : น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล Thryssa, Setipinna และชนิด Lycothrissa crocodilus ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคม ตาอยู่ค่อนไปทางปลายด้านหน้าของหัว ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ก้านครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้น เป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร.
  16. แมวน้ำ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Phocidae ซึ่งไม่มีใบหู และวงศ์ Otaliidae ซึ่งมีใบหู รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลําตัว อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หากินในนํ้าเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Phoca vitulina.
  17. โมกโคก : (ปาก) ว. มีสัณฐานใหญ่และนูน (มักใช้แก่หน้าผาก).
  18. โม่ง : ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
  19. ไม่ : ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
  20. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  21. ไม่เข้าใครออกใคร : ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
  22. ไม้คมแฝก : น. อาวุธชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบ เหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.
  23. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  24. ไม้ประกับคัมภีร์ : น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับ ด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.
  25. ไม่เป็นอัน : ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
  26. ไม้ล้มเงาหาย : (สํา) น. คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกตํ่าลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป.
  27. ยกกลีบ : ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตาม แนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น.
  28. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  29. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  30. ยกเหลี่ยม : ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยม อกเลาของบานประตู.
  31. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  32. ย่น : ก. ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา, หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น, ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น เสื้อผ้าย่น.
  33. ยมก : [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สําหรับ อ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.).
  34. ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
  35. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  36. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  37. ยันกัน : ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบ ข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
  38. ย่าง ๒ : ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้า หน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี.
  39. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  40. ยานี : น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คํา จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คํา วรรคหลัง ๖ คํา; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.
  41. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  42. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  43. ยิ้มเจื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท.
  44. ยิ้มเฝื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน.
  45. ยิ้มละไม : ก. ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า.
  46. ยิ้มเหย : [เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม.
  47. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  48. ยืนยัน : ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดย แน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนง โดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี.
  49. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  50. เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1621

(0.1380 sec)