Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คำนำหน้า, หน้า, คำนำ , then คำนำ, คำนำหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คำนำหน้า, 1621 found, display 1351-1400
  1. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  2. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  3. แหงน : [แหฺงน] ก. หงายหน้าขึ้น, เงยขึ้น.
  4. แห้น : ก. แทะ, กัดด้วยฟันหน้า.
  5. แหยง : [แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว. ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
  6. โหนก : [โหฺนก] ว. นูนยื่นออกมา เช่น หน้าผากโหนก.
  7. ให้น้ำ : ก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำเช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.
  8. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  9. ไหปลาร้า : น. ชื่อไหชนิดหนึ่ง มีขอบรอบปากสําหรับหล่อนํ้าและมีฝาปิด ใช้หมักปลาร้า, หลุมข้างคอถัดกระดูกไหปลาร้าขึ้นไป, เรียกกระดูกทั้งคู่ ที่อยู่ต้นคอข้างหน้าว่า กระดูกไหปลาร้า.
  10. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  11. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  12. อกกรม : ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่น อกกรม, หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.
  13. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน : (สํา) ก. อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่า ข้างหน้า.
  14. อติ : [อะติ] คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
  15. อธิ : คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
  16. อธิป, อธิป : [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้า คําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
  17. อน : [อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู ๒ประกอบ).
  18. อ้น ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลําตัวกลมอ้วนป้อม สีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius).
  19. อนาคตกาล : น. กาลภายหน้า, กาลที่ยังมาไม่ถึง.
  20. อนาคต, อนาคต : [อะนาคด, อะนาคดตะ] ว. ยังไม่มาถึง. น. เวลาภายหน้า. (ป., ส.).
  21. อนาจาร : [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น ในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
  22. อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  23. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา : [อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็น เป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
  24. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  25. อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  26. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  27. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  28. อภิมุข : น. หัวหน้า เช่น เสนาภิมุข = หัวหน้าทหาร. ว. หันหน้าตรงไป, ตรงหน้า. (ป., ส.).
  29. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  30. อรหันต, อรหันต์ : [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
  31. อลึ่งฉึ่ง : [อะหฺลึ่ง] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียก อาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.
  32. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  33. อวนรุน : น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการ ประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  34. ออ ๑ : ก. รวมกันเป็นกลุ่ม, คั่งกันอยู่, เช่น คนอออยู่หน้าประตู.
  35. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  36. ออก ๑ : (โบ) น. คํานําหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกพระ ออกหลวง ออกขุน; (ถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กําเนิดว่า พ่อออก แม่ออก; เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก.
  37. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  38. ออกแขก : ก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเก ตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.
  39. อะร้าอร่าม ๑ : (โบ) ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, งกเงิ่นด้วยความห่วงใย.
  40. อัคร : [อักคฺระ] ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).
  41. อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  42. อัด ๒ : ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
  43. อันเต, อันโต : คําใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.
  44. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  45. อับอาย : ว. อายไม่กล้าสู้หน้า, ขายหน้า.
  46. อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  47. อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  48. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  49. อัมพฤกษ์ : [อํามะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
  50. อัศวมุข, อัศวมุขี : ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ส.; ป. อสฺสมุขี).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1621

(0.1003 sec)