Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คำนำหน้า, หน้า, คำนำ , then คำนำ, คำนำหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คำนำหน้า, 1621 found, display 251-300
  1. ขายหน้า, ขายหน้าขายตา : ก. อับอาย.
  2. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  3. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ : (สํา) ก. จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ.
  4. ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
  5. คิดหน้าคิดหลัง : ก. คิดอย่างรอบคอบ.
  6. ฉะหน้าโรง : น. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง.
  7. ฉาบหน้า : (ปาก) ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง.
  8. ฉีกหน้า : ก. ทําให้ได้รับความอับอาย.
  9. ชักแป้งผัดหน้า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  10. ชักหน้า : ดูใน ชัก.
  11. ชักหน้าไม่ถึงหลัง : (สำ) ก. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย.
  12. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว : (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  13. ด้านหน้า : ก. ดื้อเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกอาย.
  14. ได้หน้าลืมหลัง : ก. หลง ๆ ลืม ๆ.
  15. ตลาดหน้าคุก : (สํา) ว. แพง. น. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติ และผู้ซื้อจําเป็นต้องซื้อ.
  16. ทะเลหน้าใน : น. ทะเลภายใน, ทะเลใน ก็เรียก.
  17. นายหน้า : ( (กฎ) น. บุคคลผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล ๒ ฝ่ายได้เข้า ทําสัญญากัน.
  18. ปลาหน้าดิน : น. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
  19. เปลี่ยนหน้า : ว. ไม่ซํ้าคนเดิม.
  20. ผักชีโรยหน้า : (สํา) น. การทําความดีเพียงผิวเผิน.
  21. แผ่นดินกลบหน้า : (สํา) ก. ตาย.
  22. ฝ่ายหน้า : น. เจ้านายและข้าราชการซึ่งไม่ใช่ฝ่ายใน.
  23. พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
  24. พาลีหลายหน้า : (สํา) ว. กลับกลอก, ไม่ซื่อสัตย์.
  25. พื้นที่หน้าตัด : น. พื้นที่ตรงรอยตัดของแท่งวัตถุ.
  26. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  27. ไม้หน้า : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ เ, แ.
  28. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ : (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  29. ยิ้มในหน้า : ว. อมยิ้ม.
  30. รับหน้าเสื่อ : ก. ทำหน้าที่เป็นหัวเบี้ย เช่นในการเล่นถั่วโปซึ่งสมัยก่อน มักปูเสื่อลำแพนเล่นกัน.
  31. ราบเป็นหน้ากลอง : (สํา) ว. ราบเรียบ, หมดเสี้ยนหนาม.
  32. ลับหน้า : (โบ) ก. ล่วงลับไปแล้ว, ตายแล้ว.
  33. ลูกฟักหน้าพรหม : น. ไม้กรุในช่องจั่วลูกฟักเรือนทรงไทยเพื่อกัน ฝนสาด.
  34. ลูบหน้าปะจมูก : (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะ เกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
  35. เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
  36. หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก :
  37. หน้าตาตื่น, หน้าตื่น : ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟ หน้าตาตื่นมา.
  38. หมากกระเตอะ, หมากหน้ากระเตอะ : น. ผลหมากที่มีหน้าจวนแก่.
  39. หมากหน้าแว่น : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลม บาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากแปะ หรือ หมากอีแปะ ก็เรียก.
  40. หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
  41. หมายน้ำบ่อหน้า : (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
  42. หยามน้ำหน้า : ก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.
  43. ห่วงหน้าพะวงหลัง, ห่วงหน้าห่วงหลัง : ก. พะว้าพะวัง.
  44. หักหน้า : ก. ทําหรือพูดโดยเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย.
  45. เห็นแก่หน้า : ก. ลําเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
  46. เห็นหน้าเห็นหลัง : ก. เห็นผลงานที่ได้ลงทุนลงแรงไป.
  47. ออกนอกหน้า : ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการ ให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  48. ออกหน้าออกตา : ก. แสดงให้ปรากฏอย่างเปิดเผย.
  49. ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  50. กถามุข : น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง. (ป.; ส. -มุข ว่า หน้า).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1621

(0.1139 sec)